เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงอะไร

4 นาที
อัพเดทครั้งล่าสุด 22 ส.ค. 2566 06:29 น.
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นวลีที่คุ้นหูคนไทยมาอย่างยาวนานเลยก็ว่าได้ เนื่องจากว่าเป็นพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ชี้นำแนวคิดวิธีการดำเนินชีวิตให้พสิกรในชาวไทยดำรงชีวิตด้วยความมั่นคง ยั่งยืน และปลอดภัย ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ภายหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 2540 พระราชดำรัสดังกล่าวทำให้ประชาชนในประเทศได้นำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันกันอย่างแพร่หลาย จนกลายเป็นอาชีพที่ล่อเลี้ยงตนเองและคนในครอบครัว 


ดังนั้นเนื้อหาในเนื้อบทความนี้จะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายและรายละเอียดของคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” รวมถึง เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงอะไร เศรษฐกิจพอเพียงมีอะไรบ้าง และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไรให้ทุกคนได้อ่านไปพร้อมๆกัน


เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงอะไร

เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) หมายถึง กรอบแนวคิดที่มุ่งเน้นในการดำรงชีวิตของประชาชนทุกระดับชนชั้น โดยเริ่มตั้งแต่ระดับครัวเรือน ระดับชุมชน และระดับภาครัฐ ให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ด้วยความพอเพียง ความพอประมาณ โดยไม่ต้องเดือดร้อนผู้อื่น ซึ่งพระราชดำรัสดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนและเศรษฐกิจภายในประเทศมีการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนในระยะยาว เพื่อที่จะมีภูมิคุ้มกันในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกตามยุคสมัย


ในนิยามของคำว่า “พอเพียง” คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร โดยต้องอาศัยความรอบรู้ที่หลากหลาย ความรอบคอบ เป็นอย่างมากในการวางแผนและดำเนินการต่าง ๆในชีวิต 


ดังนั้นเศรษฐกิจพอเพียงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของคนไทย ที่มีการดำเนินชีวิตอยู่บนพื้นฐานของความพอเพียงและการพึ่งพาตนเอง บนความไม่ประมาท การดำเนินชีวิตตามหลักการทางสายกลางนั้นก็เปรียบเสมือนเป็นเกราะป้องกันที่ทำให้เราสามารถรับมือกับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายในและภายนอก ที่ให้ความสำคัญกับความรู้ และคุณธรรม เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อให้ได้มาซึ่งความสมดุลและความยุติธรรมในสังคม เป็นต้น

เศรษฐกิจพอเพียงมีอะไรบ้าง

หัวใจหลักของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การดำรงชีวิตอยู่บนทางสายกลาง ที่ตั้งอยู่บนหลักพื้นฐานสำคัญที่เรียกว่า 3 ห่วง 2 เงื่อนไข โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


หลักการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานคำว่า 3 ห่วง คือ การใช้ชีวิตอยู่บนทางสายกลางที่ประกอบไปด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี โดยทั้ง 3 ห่วงนี้จะมุ่งเน้นใช้ชีวิตแบบพึ่งพาตนเองเป็นหลักเหมาะสำหรับบุคคลทุกระดับชนชั้น


เศรษฐกิจพอเพียง


  • ความพอประมาณ 

คือ การดำรงชีวิตให้เหมาะสมเพื่อให้เกิดความสมดุลในการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความพอประมาณในการหารายได้ และพอประมาณในการใช้จ่าย กล่าวคือ การสร้างรายได้ด้วยช่องทางสุจริตไม่เบียดเบียนหรือคดโกงผู้อื่น และการใช้จ่ายให้เหมาะกับฐานะความเป็นอยู่ของตนเอง ไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายจนไปกู้ยืมผู้อื่น เป็นต้น


  • ความมีเหตุผล 

คือ การดำรงชีวิตด้วยการใช้เหตุผลในการตัดสินใจที่จะลงมือทำอะไรในแต่ละครั้งว่าเหมาะสมกับตัวเองหรือไม่ อาทิ การที่เราอยากลงมือทำธุรกิจ เราจะต้องมีการวางแผนอย่างรอบครอบและรู้ศักยภาพของตนเอง พร้อมทั้งวิเคราะห์ในเหตุผลที่เราลงมือทำด้วยว่าเราทำเพื่ออะไร และคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ควรทำตัดสินใจตามอารมณ์ หรือปราศจากการวิเคราะห์อย่างละเอียด


  • การมีภูมิคุ้มกัน 

คือ ความพร้อมในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทุกอย่างที่เกิดขึ้นในการดำรงชีวิต โดยตัวเราสามารถแก้ไขและปรับเปลี่ยนการใช้ให้เหมาะสมกับสถานการ์ณที่เกิดขึ้นนั่นเอง 


จากการดำเนินชีวิตตามหลัก 3 ห่วงนั้นยังคงต้องปฎิบัติตามด้วย 2 เงื่อนไข อันเป็นหลักใจความสำคัญในการเลือกตัดสินใจต่อการลงมือทำกิจกรรมต่างๆ ที่ยึดมั่นอยู่บนพื้นฐานของคำว่าพอเพียง ได้แก่


  • ความรู้

 คือ ความรู้ทางวิชาการต่างๆ และความรู้จากประสบการ์ณของตนเองและผู้เชี่ยวชาญ เพราะการที่เรามีความรู้ที่เพรียบพร้อมนั้น จะทำให้เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน ตลอดถึงในเรื่องของการสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับตนเองได้เป็นอย่างดี ซึ่งเงื่อนไขข้อนี้ก็เปรียบเสมือนการสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับตัวเรานั่นเอง


  • คุณธรรม

 คือ หลักการที่ยึดตามความถูกต้องและมีความเป็นธรรม กล่าวคือ การใช้ชีวิตหรือการตัดสินใจทำอะไรด้วยความถูกต้องและมีความชอบธรรม มีความขยันและซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของตนเอง เป็นต้น 

ประวัติเศรษฐกิจพอเพียง

ที่มาของคำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เน้นให้ความสำคัญของการพัฒนาประเทศเป็นหลัก โดยจะต้องสร้างพื้นฐานสำคัญ คือ “ความพอมี พอกิน พอใช้” 


สาเหตุที่พระองค์ท่านทรงชี้แนะแนวทางการดำรงชีวิตให้ยึดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเนื่องจากว่าสถานการ์ณในประเทศไทย ณ ช่วงนั้นได้มีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ที่มุ่งเน้นไปในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อต้องการพัฒนาประเทศให้กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมเป็นหลักตามยุคสมัยในช่วงเวลาดังกล่าว โดยเงินลงทุนส่วนมากนั้นมาจากการกู้ยืมจากต่างประเทศเป็นหลัก จะต้องชำระหนี้ด้วยการส่งออกสินค้าทางการเกษตร ทำให้ผู้คนขยายพื้นที่ในการเพาะปลูก ผลทางเชิงบวก คือ เศรษฐกิจภายในประเทศมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบเชิงลบต่อสภาพแวดล้อมภายในประเทศ พื้นที่ป่าถูกนายทุนบุกรุกเพื่อที่จะทำการสร้างผลผลิต ทั้งนี้ยังเกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ตามมาอีกด้วย 


  1 ปีก่อนที่จะเกิดวิกฤตการ์ณต้มยำกุ้งในปี พ.ศ. 2540 พระองค์ท่านได้ทรงมีพระราชดำรัสเพื่อย้ำเตือนสติพสกนิกรชาวไทยให้ดำเนินชีวิตตามหลักทางสายกลาง โดยมีใจความว่า


"...การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตนเอง ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก..."


ภายหลังจากเกิดวิกฤตการ์ณทางด้านเศรษฐกิจในปี 2540 นั้น หลักการเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มมีการนำมาปรับใช้ในชีวิตมากยิ่งขึ้นทั้งในประเทศไทยและประเทศที่ได้ผลกระทบจากวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย และเข้าใจในนิยามของคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” อย่างถ่องแท้ หลายคนมองเห็นว่ากรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนั้นมีความสอดคล้องกับหลักแนวคิดเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือ Sustainable Development Goals ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักที่สำคัญขององค์การสหประชาชาติ (UN) ที่เป็นแนวทางการพัฒนาประเทศโดยตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน ที่ไม่ส่งผลลบต่อการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นหลัง


ในปี พ.ศ. 2549 ทางองค์การสหประชาชาติ (UN) ได้ยกย่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ว่าเป็นกษัตริย์นักพัฒนา หรือ “Developer King” พร้อมทั้งทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ (Human Development Lifetime Achievement Award) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในปีนั้นด้วยเช่นกัน

ตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียง

จะเห็นได้ว่าแก่นหลักของพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงนั้น สามารถปรับประยุกต์ใช้ได้กับอาชีพและทุกอุตสาหกรรม เพียงแค่ปฏิบัติตามหลักทางสายกลางที่ยึดหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ที่เน้นในเรื่องความพอประมาณ ความมีเหตุผล และระบบภูมิคุ้มกันที่ดี ในหัวข้อนี้ทางผู้เขียนได้ทำการยกตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียงที่มีการมาปรับใช้ในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมมาอธิบายเพื่อให้ผู้อ่านทุกท่านได้เห็นภาพตัวอย่างได้ชัดเจน


1. ตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียงในด้านอุตสหกรรมและพาณิชย์


ภาพประกอบของตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียงในด้านอุตสหกรรมและพาณิชย์.jpg


ในการดำเนินกิจการ ยิ่งจะต้องคำนึงถึงหลัก 3 ห่วง เป็นหลัก เช่น ในเรื่องของความพอประมาณในผลกำไรที่ได้ ต้องไม่เกิดความโลภมากจนเกินไป ความีเหตุผลในการตระหนักรู้คิด รู้จักวางแผนกับกิจการของตนเอง และการมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีที่พร้อมจะรับมือกับทุกสถานการ์ณที่จะเกิดขึ้นกับกิจการทั้งทางตรงและทางอ้อม สำหรับการปฏิบัติตนที่นำหลักการเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในทางด้านนี้ ได้แก่


  • การเลือกใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีที่มีต้นทุนต่ำแต่มีคุณภาพสูงสุด

  • มีขนาดการผลิตที่มีความสอดคล้องกับความสามารถในการบริหารและการจัดการ

  • เน้นการกระจายความเสี่ยงที่ต่ำและเน้นผลกำไรในระยะยาวเป็นหลัก

  • ผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการจะต้องมีซื่อสัตย์สุจริตในการประกอบการและไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ไม่เอาเปรียบแรงงานหรือลูกค้าตลอดจนไม่เอาเปรียบผู้จำหน่ายวัตถุดิบ

  • เน้นการใช้วัตถุดิบภายในท้องถิ่นและตอบสนองตลาดในท้องถิ่น  ภูมิภาค  ตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศเป็นหลัก


2. ตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียงในด้านการเกษตร

หากพูดคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง สิ่งแรกที่หลายคนมักจะนึกถึง คือ การประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบของการเกษตร เนื่องจากว่าประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีประชาชนทำอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก โดยมีตัวอย่างดังต่อไปนี้


1)การเกษตรแบบผสมผสานและการทำไร่นาสวนผสม 

หากอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ เป็นวิธีการทำการเกษตรหลากหลายประเภทในหนึ่งครัวเรือน เนื่องจากว่าแนวคิดนี้มีวัตถุประสงค์สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาของเกษตรแบบดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของปัญหาภัยแล้งที่ส่งผลกระทบให้ผลผลิตน้อยลง รวมถึงปัญหาโรคระบาดในพืชและสัตว์ ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะส่งผลกระทบวงกว้างสำหรับบุคคลที่ทำการเกษตรแบบเดียวนั่นเอง


ตัวอย่างการเกษตรแบบผสมผสาน ได้แก่ การทำนาปลูกข้าว ปลูกผักสวนครัว เพื่อบริโภคในครัวเรือนหรือสามารถแบ่งตำหน่ายสร้างรายได้ตามความเหมาะสม การขุดสระเลี้ยงปลาที่สามารถนำน้ำในสระมารดพืชผักได้ เป็นต้น


2)การเกษตรทฤษฎีใหม่

การเกษครในรูปแบบนี้นั้น คือ แนวคิดที่มุ่งเน้นในการพัฒนาการเกษตรใรูปแบบใหม่ที่คิดค้นขึ้นมา เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะด้าน เช่น การขาดแคลนน้ำ ขาดแคลนที่ดินทำกิน ที่ส่งผลทำให้ไม่เกิดผลผลิตตามเป้าหมาย โดยวิธีการเกษตรในรูปแบบจะมีการแบ่งที่ดินออกเป็นส่วนๆ มีการนำความคิดตามหลักวิชาการเข้ามาช่วยในการคำนวณ เพื่อบริหารจัดการได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ในการเกษตรทฤษฎีรูปแบบใหม่มีรายละเอียดแบ่งย่อยออกเป็น 3 รูปแบบ โดยมีรายละเอียดดังนี้


  • การเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นพื้นฐาน

    จะเป็นวิธีการแบ่งที่ดินออกเป็น 4 ส่วน ด้วยหลักการคำนวณ 100% โดยแบ่งเป็น 30 : 30 : 30 : 10 การแบ่งพื้นที่แบบนี้นั้นช่วยให้เกษตรกรสามารถทำการเกษตรแบบผสมผสานได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการปลูกข้าว ขุดสระน้ำไว้ใช้ตลอดทั้งปี การเลี้ยงสัตว์ และการปลูกผักสวนครัว เป็นต้น


  • การเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า

    ในขั้นนี้จะเป็นการที่เราสามารถพึ่งพาตัวเองและช่วยเหลือผู้อื่นในสายงานอาชีพเดียวกันได้ กล่าวคือ การจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรขึ้นมาเพื่อร่วมมือกันสร้างผลผลิต สร้างตลาดขึ้นมา ทั้งนี้การรวมกลุ่มกันนั้นยังสามารถเพิ่มการต่อรองอำนาจกับพ่อค้าคนคนกลางได้อีกด้วย อันเป็นผลดีที่ทำให้ราคาสินค้าไม่ถูกกดราคาและไม่โดนเอาเปรียบนั่นเอง


  • การเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม

    เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นไปยังการสร้างเศรษฐกิจในชุมชนให้เกิดรายได้และความมั่นคง เช่น การจัดตั้งสหกรณ์ หรือ การแลกเปลี่ยนประสบการ์ณความรู้ให้กับผู้คนในชุมชน ตลอดจนถึงเป็นแหล่งเงินทุนให้ประชาชนสามารถกู้ยืมเพื่อทำการลงทุนได้ เป็นต้น


จะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ของคำว่า “พอเพียง” คือ ต้องการให้ผู้คนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ ตลอดจนถึงพัฒนากลุ่มองค์กรได้ด้วยเช่นกัน เพียงแค่ยึดหลักการดำเนินชีวิตด้วยทางสายกลาง ให้มีความพอประมาณ มีความสมดุลเกิดขึ้น บริหารจัดการชีวิตไม่ให้เกิดความขาดแคลน สามารถดำรงชีวิตได้ด้วยการพึ่งพาตนเองและไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น เป็นต้น 

แนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับบุคคลและครอบครัว

สำหรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ถือว่าเป็นแนวทางสำคัญที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ในการดำรงชีวิตประจำวันของเราในขั้นพื้นฐาน กล่าวคือ การนำกรอบแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์กับ สังคมครอบครัวและตัวเองก่อน เพราะถือว่าเป็นฐานสำคัญอันดับแรกก่อนที่จะนำไปปรับใช้ในสังคมวงกว้าง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

  • การศึกษาหาความรู้และหมั่นฝึกฝนทักษะเฉพาะทางในการประกอบอาชีพ

  • จะต้องมีความอดทนและความขยันหมั่นเพียรกับสิ่งที่ทำ

  • ประกอบอาชีพที่สุจริต อยู่บนหลักของความถูกต้อง ไม่คดโกงหรือเบียดเบียนผู้อื่น

  • จะหาความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว (Work-Life Balance) ไม่เครียด หรือ กดดันตัวเองมากจนเกินไป


การออมและการลงทุน


  • มีรู้จักอดออม รู้จักวางแผนทางการเงินทั้งในปัจจุบันและในอนาคตอย่างรอบครอบ

  • รู้จักใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลตามความเหมาะสมตามสถานภาพ บทบาท และหน้าที่ของตน ไม่ฟุ่มเฟือยมากขนเกินไปและไม่ตระหนี่ถี่เหนียวจนเกินงาม

  • ก่อนที่จะลงมือทำอะไร ควรมีการหาข้อมูล วางแผน และพิจารณาถึงผลที่อาจเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ


สรุป

จะเห็นได้ว่าประเทศไทยกับนิยามคำว่าเศรษฐกิจพอเพียงอยู่คู่กันมานานกว่า 30 ปี โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ เน้นให้ผู้คนสร้างผลผลิตให้ตนเองและสามารถสร้างรายได้จากสิ่งที่ตนผลิต หรือบริบทที่เป็นผู้บริโภคก็ควรเริ่มต้นบริโภคตามความเหมาะสม ซึ่งถือว่าเป็นหลักพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ที่จะต้องมีความรู้จักใช้ชีวิตภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ไปก่อน เพื่อที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมการผลิตได้ด้วยตนเอง และลดภาวะการเสี่ยงจากการไม่สามารถควบคุมระบบตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ทั้งนี้เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปสู่เป้าหมายของการสร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจได้ด้วยเช่นกันสำหรับประเทศไทยของเรา


เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยนั้นเป็นประเทศเกษตรกรรม เศรษฐกิจของประเทศตั้งแต่ในอดีตจนมาถึงปัจจุบันมีการขับเคลื่อนด้วยภาคอุตสาหกรรมทางเกษตร ดังนั้นรัฐบาลจึงควรให้ความสำคัญและผลักดันภาคการเกษตรให้มีการเติบโตในระยะยาว


ท้ายที่สุดนี้การประยุกต์ "เศรษฐกิจพอเพียง" ไม่ขำกัดว่าจะต้องประยุกต์ในภาคการเกษตรเพียงเท่านั้น ยังสามารถนำไปปรับใช้ได้ทุกภาคส่วนทุกรูปแบบเศรษฐกิจ เช่น ภาคการเงิน ภาคอุตสาหกรรม ภาคอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนถึงการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ เพียงยึดหลักทางสายกลางในการดำเนินกิจการดังกล่าวเท่านั้นเอง

คำถามที่พบบ่อย
เป้าหมายของการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร
เป้าหมายของการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคือ ความสามารถในการพึ่งตนเองได้โดยไม่เดือดร้อนและไม่เบียดเบียนใคร อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมและองค์ได้อย่างสันติสุข พร้อมอยู่ร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
รวยด้วยการเล่นหุ้น VI : ทางรุ่ง หรือ ทางร่วง ผมจึงอยากแบ่งปัน วิถีการเล่นหุ้น VI สไตล์ของตัวเอง ว่ามันเหมือนหรือต่างกับนักลงทุนท่านอื่นอย่างไร พร้อมการแนะนำหุ้น VI คืออะไร, หุ้น VI ตัวไหนดี-หลักการเลือกหุ้น VI ด้วย เชิญติดตามไปพร้อม ๆ กันครับ
ผู้เขียน  MitradeInsights
ผมจึงอยากแบ่งปัน วิถีการเล่นหุ้น VI สไตล์ของตัวเอง ว่ามันเหมือนหรือต่างกับนักลงทุนท่านอื่นอย่างไร พร้อมการแนะนำหุ้น VI คืออะไร, หุ้น VI ตัวไหนดี-หลักการเลือกหุ้น VI ด้วย เชิญติดตามไปพร้อม ๆ กันครับ
placeholder
Gold Futures คืออะไร?สามารถซื้อขายได้อย่างไร?บทความนี้จะแนะนำว่า Gold Futures คืออะไร, ข้อดีในการซื้อขาย Gold Futures,ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ Gold Futures, วิธีการซื้อขาย Gold futures นะคคะ
ผู้เขียน  MitradeInsights
บทความนี้จะแนะนำว่า Gold Futures คืออะไร, ข้อดีในการซื้อขาย Gold Futures,ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ Gold Futures, วิธีการซื้อขาย Gold futures นะคคะ
placeholder
วิธีดูกราฟราคาทองที่นักลงทุนทองคำต้องรู้ ฉบับมือใหม่ต้องอ่านขึ้นชื่อว่าทองคำ หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นสินทรัพย์อันมีค่า ยอดนิยมตลอดปี ไม่ว่าใครก็อยากมีไว้ครอบครอง แต่นักลงทุนมือใหม่หลายคนยังไม่ทราบปัจจัยที่ส่งผลต่อการขึ้นลงของราคาทอง ถ้านักลงทุนสามารถวิเคราะห์และดูสถิติของราคาทองคำเป็น ก็จะรู้ได้ว่าช่วงเวลาใดควรซื้อ ช่วงเวลาใดควรขาย เพื่อสร้างกำไรให้นักลงทุนได้อย่างง่ายดาย เพื่อไม่ให้เสียโอกาสของการลงทุน ไปอ่านในบทความกัน
ผู้เขียน  MitradeInsights
ขึ้นชื่อว่าทองคำ หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นสินทรัพย์อันมีค่า ยอดนิยมตลอดปี ไม่ว่าใครก็อยากมีไว้ครอบครอง แต่นักลงทุนมือใหม่หลายคนยังไม่ทราบปัจจัยที่ส่งผลต่อการขึ้นลงของราคาทอง ถ้านักลงทุนสามารถวิเคราะห์และดูสถิติของราคาทองคำเป็น ก็จะรู้ได้ว่าช่วงเวลาใดควรซื้อ ช่วงเวลาใดควรขาย เพื่อสร้างกำไรให้นักลงทุนได้อย่างง่ายดาย เพื่อไม่ให้เสียโอกาสของการลงทุน ไปอ่านในบทความกัน
placeholder
กองทุนรวมทองคำคืออะไรและเลือกยังไงหากใครที่กำลังสนใจและสงสัยว่ากองทุนรวมทองคำคืออะไร เลือกยังไง มีกองทุนแบบไหนให้เลือกบ้าง คราวนี้เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจมาไว้ให้แล้ว
ผู้เขียน  MitradeInsights
หากใครที่กำลังสนใจและสงสัยว่ากองทุนรวมทองคำคืออะไร เลือกยังไง มีกองทุนแบบไหนให้เลือกบ้าง คราวนี้เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจมาไว้ให้แล้ว
placeholder
Web3.0 คืออะไร? มีความสำคัญต่อวงการ Blockchain มากแค่ไหน? ทุกคนทราบไหมว่าระบบอินเทอร์เน็ตที่เราใช้งานอยู่ในทุกวันนี้คือ Web 2.0 และอีกไม่นานเราก็จะเข้าสู่การใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตด้วย Web3.0 เนื้อหาในบทความนี้เราจะพาทุกคนมาศึกษาว่า Web3.0 คืออะไร มีความน่าสนใจมากกว่าตอนนี้แค่ไหน ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  ชัญญาพัชร์ ประวาสุขInsights
ทุกคนทราบไหมว่าระบบอินเทอร์เน็ตที่เราใช้งานอยู่ในทุกวันนี้คือ Web 2.0 และอีกไม่นานเราก็จะเข้าสู่การใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตด้วย Web3.0 เนื้อหาในบทความนี้เราจะพาทุกคนมาศึกษาว่า Web3.0 คืออะไร มีความน่าสนใจมากกว่าตอนนี้แค่ไหน ตามมาดูกันเลย
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์