กองทุนรวมทองคำคืออะไรและเลือกยังไง

5 นาที
อัพเดทครั้งล่าสุด 17 ส.ค. 2566 09:39 น.
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

อีกหนึ่งสินทรัพย์ที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนสูงในช่วงที่เงินเฟ้อพุ่งทะยานก็คงหนีไม่พ้นสินทรัพย์สุดคลาสสิคของนักลงทุนอย่าง “ทองคำ” 


ทองคำได้ชื่อว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยมาช้านาน คนทั่วไปยังใช้ทองคำเป็นตัวรักษามูลค่า (Store of Value) และวิธีที่ได้รับความนิยมสูงสุดวิธีหนึ่งสำหรับการลงทุนในทองคำก็คงหนีไม่พ้นการซื้อทองคำแท่งและการซื้อกองทุนรวมทองคำ ซึ่งวิธีแรกมักเป็นวิธีที่มีความตรงไปตรงมาและเราคุ้นเคยกันดี แต่สำหรับการซื้อกองทุนรวมทองคำนั้นมีรายละเอียดที่ผู้ลงทุนจะต้องใส่ใจเพิ่มขึ้นอีกนิด


และหากใครที่กำลังสนใจและสงสัยว่ากองทุนรวมทองคำคืออะไร เลือกยังไง มีกองทุนแบบไหนให้เลือกบ้าง คราวนี้เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจมาไว้ให้แล้ว

กองทุนรวมทองคำคืออะไร: ทำความรู้จักกองทุนรวมทองคำ

กองทุน คือ การระดมทุนจากนักลงทุนรายย่อย เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นำไปลงทุนต่อตามนโยบายของกองทุนต่าง ๆ เช่น ลงทุนในดัชนี ลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ ลงทุนในน้ำมัน หรือลงทุนในทองคำ ดังนั้นกองทุนรวมทองคำก็คือกองทุนรวมที่รับเงินลงทุนจากนักลงทุนรายย่อยเพื่อไปลงทุนต่อในสินทรัพย์อย่างทองคำตามนโยบายของกองทุนที่กำหนดเอาไว้ตั้งแต่แรก


กองทุนรวมทองคำเป็น Passive Fund หรือกองทุนที่มีผลตอบแทนล้อตามราคาทองคำโลก ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดราคาสินทรัพย์ไว้ใช้อ้างอิง ซึ่งกองทุนรวมทองคำส่วนใหญ่จะใช้มาตรฐานราคากองทุน SPDR Gold Trust ซึ่งเป็นกองทุน ETF ที่ใหญ่ที่สุดที่มีนโยบายลงทุนในทองคำแท่ง นอกจากนี้ก็ยังมีกองทุนที่เข้าไปลงทุนในทองคำแท่งโดยตรงอีกด้วย ทำให้ราคาของกองทุนทองคำมักจะขึ้นลงเปลี่ยนแปลงไปตามราคาทองโลก


รูปภาพที่แสดง ทองคำ

มีวิธีเลือกกองทุนรวมทองคำอย่างไร

สำหรับกองทุนในประเทศไทยส่วนใหญ่แล้วมีนโยบายคล้ายคลึงกันนั่นคือเน้นลงทุนในทองคำเป็นหลัก แต่มักมีรายละเอียดของการลงทุนไม่เหมือนกัน เช่น นโยบายการประกันความเสี่ยงค่าเงิน, นโยบายปันผล และสถานที่ทำการซื้อขายแลกเปลี่ยน ซึ่งเหล่านี้บางปัจจัยก็ส่งผลต่อผลตอบแทนของกองทุนรวมทองคำโดยตรง ซึ่งนักลงทุนควรคำนึงถึงก่อนเลือกซื้อกองทุน


◆ นโยบายประกันความเสี่ยงค่าเงิน ◆

กองทุนรวมทองคำในประเทศไทย หากสังเกตให้ดีจะมีกองทุนบางส่วนที่มีผลการดำเนินงานที่ไม่ได้ล้อไปตามราคาทองคำโลกเนื่องจากมีนโยบายประกันความเสี่ยงค่าเงินแตกต่างกัน 


การซื้อขายทองคำในตลาดโลกนั้นมีฐานอยู่บนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเปลี่ยนกลับมาเป็นมูลค่ากองทุนรวมที่เป็นเงินบาทก็จำเป็นต้องปรับมูลค่าตามอัตราแลกเปลี่ยนด้วย เช่น หากเงินบาทอ่อน มูลค่ากองทุนรวมทองคำที่ปรับค่าเป็นเงินบาทจะมีราคาสูงขึ้น แต่หากเงินบาทแข็งค่า มูลค่ากองทุนรวมทองคำที่ปรับเป็นเงินบาทก็จะมีราคาต่ำลง ซึ่งความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนนี้เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อกำไรของนักลงทุนนอกเหนือไปจากความผันผวนด้านราคา ดังนั้นนโยบายประกันความเสี่ยงจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่นักลงทุนต้องคำนึงถึงก่อนเลือกซื้อกองทุน


หากนักลงทุนสามารถรับความเสี่ยงได้สูง การเลือกกองทุนรวมทองคำที่ไม่ได้มีการประกันความเสี่ยงค่าเงิน (Unhedge) เอาไว้ก็จะเป็นทางเลือกที่ดี ที่สามารถช่วยเพิ่มผลตอบแทนให้กับการลงทุนได้ โดยเฉพาะในช่วงที่ราคาทองคำแพงขึ้นและค่าเงินบาทอ่อน จะทำให้ผลตอบแทนของกองทุนออกมาดีกว่าปกติ ในทางตรงกันข้ามหากราคาทองคำกำลังเป็นขาลง ขณะที่เงินบาทแข็งค่า นักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนนี้ก็จะขาดทุนได้มากกว่าปกติเช่นกัน


เพื่อลดความเสี่ยงด้านความผันผวนของค่าเงิน นักลงทุนบางส่วนที่พยายามหลีกเลี่ยงความเสี่ยงก็นิยมเลือกกองทุนรวมทองคำที่มีการประกันความเสี่ยงค่าเงินเอาไว้ (Hedge) เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่าจะได้ผลตอบแทนที่ล้อตามราคาทองคำโลกอย่างแท้จริง

 

นอกจากนี้ด้วยนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมทองคำที่หลากหลาย นักลงทุนอาจเริ่มสงสัยว่าการลงทุนในกองทุนที่มี “การลงทุนในทองคำแท่งโดยตรง” มีความแตกต่างจาก “การลงทุนในกองทุนผ่าน SPDR Gold Trust” หรือไม่ 


จากข้อมูลย้อนหลังเปรียบเทียบของหลายกองทุนพบว่า ไม่ว่ากองทุนรวมทองคำจะลงทุนในทองคำแท่งโดยตรงหรือลงทุนผ่าน SPDR Gold Trust ก็ไม่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างของผลการดำเนินงาน แต่ปัจจัยที่ทำให้ผลตอบแทนจากกองทุนแตกต่างกันออกไปนั้นคือนโยบายบริหารอัตราแลกเปลี่ยน โดยกองทุนที่ไม่มีการประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Unhedge) จะให้ผลตอบแทนที่ดีเป็นพิเศษในช่วงที่เงินบาทอ่อนค่า


◆ นโยบายปันผล ◆ 

หากสังเกตผลการดำเนินงานของกองทุนรวมทองคำบางกองแล้วพบว่าผลตอบแทนต่ำกว่ากองทุนอื่น ๆ แม้จะมีนโยบายประกันความเสี่ยงค่าเงินเหมือนกัน นั่นอาจเป็นเพราะนโยบายปันผลของกองทุนที่จะมีการทะยอยจ่ายกระแสเงินสดที่เป็นผลกำไรของกองทุนออกมา ซึ่งแน่นอนว่ากระแสเงินสดตัวนี้จะทำให้ผลตอบแทนในระยะยาวลดลง แต่นักลงทุนจะได้กระแสเงินสดในปัจจุบันแทน


◆ สถานที่ทำการซื้อขายแลกเปลี่ยน ◆ 

คำถามที่อาจเป็นข้อสงสัยอีกประการคือ กองทุนรวมทองคำที่เลือกลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ นิวยอร์ค (TMBGOLD) และ สิงคโปร์ (TMBGOLDS) จะให้ผลการดำเนินงานแตกต่างกันหรือไม่

 

ซึ่งจากข้อมูลก็จะพบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน การลงทุนในตลาดทั้งสองมีความแตกต่างในแง่ของสภาพคล่อง ที่ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์คจะมีสภาพคล่องสูงกว่า ส่วนตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์จะมีสภาพคล่องต่ำกว่า ทั้งนี้เนื่องจากตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์คมีเวลาดำเนินงานที่แตกต่างจากเวลาในประเทศไทยมาก ทำให้การประกาศราคาช้ากว่าราคาที่ออกโดยตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ทำให้นักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนที่ซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์ครับรู้ราคาช้าไป 1 วัน (T+1)

ตัวอย่างกองทุนรวมทองคำที่น่าสนใจ

★ TMBGOLD ★

เป็นกองทุนรวมทองคำจากค่าย TMB ที่บริหารแบบ Passive Fund ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน SPDR Gold Trust (GLD) ซึ่งเป็นกองทุน ETF ที่มีนโยบายการลงทุนในทองคำแท่ง บริษัทมีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก ทั้งใน นิวยอร์ค ญี่ปุ่น ฮ่องกง และสิงคโปร์ โดยจะมีการซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก กองทุนรวมทองคำนี้ไม่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Unhedge)


★ TMBGOLDS ★

เป็นอีกหนึ่งกองทุนรวมทองคำจากค่าย TMB  ที่มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของ SPDR Gold Trust (GLD) คล้ายคลึงกับ TMBGOLD ต่างกันตรงที่กองทุนนี้มีการจัดตั้งและบริหารโดย World Gold Trust Services, LLC และทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศสิงคโปร์ โดยที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Hedge) ตามดุลยพินิจของกองทุน 


★ TGoldBullion-H ★

องรวมทุนทองคำจากค่าย Thanachart Fund Eastspring กองนี้มีนโยบายลงทุนในทองคำแท่ง (Gold bullion) ในต่างประเทศโดยตรงเป็นหลัก โดยทองคำแท่งที่กองทุนไปทำการลงทุนต้องมีมาตรฐานในระดับสากลซึ่งมีมาตรฐานความบริสุทธิ์ของทองคำไม่ต่ำกว่า 99.5% และจะมีการลงทุนผ่านสกุลเงินดอลลาร์ และมีการใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเกือบทั้งหมด (Hedge) ไม่ต่ำกว่า 90% ดังนั้นจึงอาจยังมีราคาที่เปลี่ยนแปลงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้อยู่บ้าง


★ TGoldBullion-UH ★

อีกหนึ่งกองทุนรวมทองคำจากค่าย Thanachart Fund Eastspring มีนโยบายลงทุนในทองคำแท่ง (Physical gold หรือ Gold bullion) ในต่างประเทศ โดยต้องเป็นทองคำที่ได้มาตรฐานสากลและลงทุนผ่านสกุลเงินดอลลาร์เช่นเดียวกัน แต่กองทุนนี้จะไม่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Unhedge) ทำให้มูลค่าของกองทุนไม่ได้เปลี่ยนแปลงตามราคาทองคำในตลาดโลกแบบ 100%


★ SCBGOLD ★

เป็นกองทุนรวมทองคำจากบลจ. ไทยพาณิชย์ อ้างอิงราคาทองคำแท่งและอาจสร้งาผลตอบแทนทางอ้อมผ่านการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน SPDR Gold Trust ถูกบริหารจัดการโดย World Gold Trust Services, LLC โดยที่มีการซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ด้วยการใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ โดยไม่มีการประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Unhedge) 


★ SCBGOLDH ★

อีกหนึ่งกองทุนรวมทองคำจากบลจ. ไทยพาณิชย์ที่มีนโยบายการลงทุนคล้ายคลึงกับ SCBGOLD แต่จะแตกต่างกันตรงที่กองทุนนี้มีนโยบายซื้อขายสัญญาล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Hedge) ไม่น้อยกว่า 90% ของมูลค่าสินทรัพย์ของกองทุน


★ K-GOLD-A(A) ★

เป็นกองทุนรวมทองคำจากบลจ.กสิกรไทย ที่เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน SPDR Gold Trust และมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 90% ของมูลค่ากองทุน และเป็นกองทุนที่ไม่มีการจ่ายปันผลตลอดระยะเวลาถือหน่วยลงทุน


★ K-GOLD-A(D) ★

เป็นกองทุนรวมจากค่ายกสิกรที่มีนโยบายการลงทุนคล้ายคลึงกับ K-GOLD-A(A) คือลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน SPDR Gold Trust และมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 90% ของมูลค่ากองทุน แต่จะมีการปันผล โดยมีนโยบายปันผลไม่เกินปีละ 4 ครั้ง โดยจ่ายไม่เกิน 100% ของกำไรสะสมประจำงวดบัญชี

กองทุนรวมทองคำ vs สัญญาซื้อขายทองคำ

อ้างจากที่กล่าวไปในส่วนที่แล้วว่ากองทุนรวมทองคำคือการรวมเงินลงทุนของนักลงทุนรายย่อย เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนนำไปลงทุนในทองคำตามนโยบายของกองทุนต่อ ทำให้การลงทุนทองคำผ่านกองทุนรวมทองคำนั้นมีข้อดีในแง่ที่ผู้ลงทุนสามารถเลือกนโยบายกองทุนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ และมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลเงินทุนให้เป็นไปตามนโยบายการลงทุน โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปซื้อทองคำแท่งมาเก็บไว้เอง หรือไปลงทุนในกองทุน SPDR Gold Trust ในต่างประเทศด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยากกว่า


อย่างไรก็ดี การลงทุนในทองคำผ่านกองทุนรวมทองคำนั้นยังมีข้อจำกัดตรงที่จำเป็นต้องเปิดบัญชีกองทุนรวมกับบลจ.ที่จะเลือกซื้อกองทุน นักลงทุนสามารถซื้อขายกองทุนได้เพียงวันละครั้ง ณ ราคา NAV. สิ้นวัน และมีค่าธรรมเนียมในการบริหารจัดการตามที่กองทุนระบุไว้ การลงทุนในกองทุนรวมทองคำจึงเป็นวิธีลงทุนที่เหมาะกับการลงทุนระยะกลางถึงยาวขึ้นไป และผู้ลงทุนไม่มีเวลาติดตามราคาทองคำมากนัก


แต่สำหรับนักลงทุนระยะสั้น โดยเฉพาะนักลงทุน day-trading ที่จำเป็นต้องฉวยจังหวะความผันผวนของราคาในวันเพื่อสร้างผลกำไร การใช้กลยุทธ์นี้จะไม่สามารถใช้กองทุนรวมทองคำเป็นเครื่องมือในการซื้อขายได้ จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมืออื่นที่มีความคล่องตัวสูงกว่า เอื้อต่อการส่งคำสั่งซื้อขายได้รวดเร็ว และมีราคาซื้อขายอ้างอิงราคาทองคำในตลาดโลกแบบเรียลไทม์ ซึ่งสัญญาซื้อขายทองคำ (CFD) เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย


ข้อมูลเพิ่มเติม เทรดทองคำเริ่มต้นยังไงดี วิธีการเทรดทองคำสำหรับมือใหม่ในปี 2566>>



สรุป

เหล่านี้คือข้อมูลที่ว่ากองทุนรวมทองคำคืออะไร เลือกยังไง ที่เราได้รวบรวมมาให้ ซึ่งการลงทุนในกองทุนรวมทองคำก็เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยม สะดวก และวางใจได้ว่าจะมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลเงินทุนให้ แต่สำหรับนักเทรดที่มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น การใช้กองทุนรวมเป็นเครื่องมืออาจกลายเป็นข้อจำกัดโอกาสที่จะได้รับจากความผันผวนระหว่างวัน และ CFD ทองคำก็นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ ไม่ยุ่งยาก และเปิดโอกาสในการทำกำไรได้สูง

คำถามที่พบบ่อย
1.กองทุนทองคำมีความเสี่ยงหรือไม่?
กองทุนทองคำก็เหมือนกับการลงทุนอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงในระดับหนึ่ง ความผันผวนมีอิทธิพลต่อมูลค่าของกองทุนทองคำในตลาดทองคำ แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วทองคำจะถือว่าเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างคงที่ แต่ปัจจัยต่างๆ เช่น ความผันผวนของตลาด เหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ และสภาวะเศรษฐกิจอาจส่งผลต่อราคาของทองคำได้ ดังนั้น นักลงทุนจำเป็นต้องประเมินความเสี่ยงที่ยอมรับได้และกระจายพอร์ตการลงทุนเพื่อจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากกองทุนทองคำ
2.FD กับ กองทุนรวมทองคำ แบบไหนดีกว่ากัน?
ทางเลือกระหว่างเงินฝากประจำ (FDs) และกองทุนรวมทองคำขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ รวมถึงเป้าหมายทางการเงิน การยอมรับความเสี่ยง และระยะเวลาการลงทุน สำหรับ FDs ให้ผลตอบแทนคงที่ แต่โดยทั่วไปมีศักยภาพในการเติบโตที่ต่ำกว่า ในทางกลับกัน กองทุนรวมทองคำจะเชื่อมโยงกับประสิทธิภาพของทองคำและสามารถให้มูลค่าเพิ่มแก่เงินทุนได้ อย่างไรก็ตาม ทั้งสองแบบนี้ก็ยังมีความเสี่ยงด้านตลาด

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
รวยด้วยการเล่นหุ้น VI : ทางรุ่ง หรือ ทางร่วง ผมจึงอยากแบ่งปัน วิถีการเล่นหุ้น VI สไตล์ของตัวเอง ว่ามันเหมือนหรือต่างกับนักลงทุนท่านอื่นอย่างไร พร้อมการแนะนำหุ้น VI คืออะไร, หุ้น VI ตัวไหนดี-หลักการเลือกหุ้น VI ด้วย เชิญติดตามไปพร้อม ๆ กันครับ
ผู้เขียน  MitradeInsights
ผมจึงอยากแบ่งปัน วิถีการเล่นหุ้น VI สไตล์ของตัวเอง ว่ามันเหมือนหรือต่างกับนักลงทุนท่านอื่นอย่างไร พร้อมการแนะนำหุ้น VI คืออะไร, หุ้น VI ตัวไหนดี-หลักการเลือกหุ้น VI ด้วย เชิญติดตามไปพร้อม ๆ กันครับ
placeholder
Gold Futures คืออะไร?สามารถซื้อขายได้อย่างไร?บทความนี้จะแนะนำว่า Gold Futures คืออะไร, ข้อดีในการซื้อขาย Gold Futures,ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ Gold Futures, วิธีการซื้อขาย Gold futures นะคคะ
ผู้เขียน  MitradeInsights
บทความนี้จะแนะนำว่า Gold Futures คืออะไร, ข้อดีในการซื้อขาย Gold Futures,ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ Gold Futures, วิธีการซื้อขาย Gold futures นะคคะ
placeholder
วิธีดูกราฟราคาทองที่นักลงทุนทองคำต้องรู้ ฉบับมือใหม่ต้องอ่านขึ้นชื่อว่าทองคำ หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นสินทรัพย์อันมีค่า ยอดนิยมตลอดปี ไม่ว่าใครก็อยากมีไว้ครอบครอง แต่นักลงทุนมือใหม่หลายคนยังไม่ทราบปัจจัยที่ส่งผลต่อการขึ้นลงของราคาทอง ถ้านักลงทุนสามารถวิเคราะห์และดูสถิติของราคาทองคำเป็น ก็จะรู้ได้ว่าช่วงเวลาใดควรซื้อ ช่วงเวลาใดควรขาย เพื่อสร้างกำไรให้นักลงทุนได้อย่างง่ายดาย เพื่อไม่ให้เสียโอกาสของการลงทุน ไปอ่านในบทความกัน
ผู้เขียน  MitradeInsights
ขึ้นชื่อว่าทองคำ หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นสินทรัพย์อันมีค่า ยอดนิยมตลอดปี ไม่ว่าใครก็อยากมีไว้ครอบครอง แต่นักลงทุนมือใหม่หลายคนยังไม่ทราบปัจจัยที่ส่งผลต่อการขึ้นลงของราคาทอง ถ้านักลงทุนสามารถวิเคราะห์และดูสถิติของราคาทองคำเป็น ก็จะรู้ได้ว่าช่วงเวลาใดควรซื้อ ช่วงเวลาใดควรขาย เพื่อสร้างกำไรให้นักลงทุนได้อย่างง่ายดาย เพื่อไม่ให้เสียโอกาสของการลงทุน ไปอ่านในบทความกัน
placeholder
Web3.0 คืออะไร? มีความสำคัญต่อวงการ Blockchain มากแค่ไหน? ทุกคนทราบไหมว่าระบบอินเทอร์เน็ตที่เราใช้งานอยู่ในทุกวันนี้คือ Web 2.0 และอีกไม่นานเราก็จะเข้าสู่การใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตด้วย Web3.0 เนื้อหาในบทความนี้เราจะพาทุกคนมาศึกษาว่า Web3.0 คืออะไร มีความน่าสนใจมากกว่าตอนนี้แค่ไหน ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  ชัญญาพัชร์ ประวาสุขInsights
ทุกคนทราบไหมว่าระบบอินเทอร์เน็ตที่เราใช้งานอยู่ในทุกวันนี้คือ Web 2.0 และอีกไม่นานเราก็จะเข้าสู่การใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตด้วย Web3.0 เนื้อหาในบทความนี้เราจะพาทุกคนมาศึกษาว่า Web3.0 คืออะไร มีความน่าสนใจมากกว่าตอนนี้แค่ไหน ตามมาดูกันเลย
placeholder
การวางแผนทางการเงินมีอะไรบ้าง? วิธีวางแผนการเงินสำหรับมือใหม่เรื่อง “การวางแผนการเงิน” เป็นเรื่องที่สำคัญเป็นวาระแห่งชาติ ที่ทุกคนต้องใส่ใจ มาลองเรียนรู้วิธีวางแผนการเงินด้วยกัน จะทำให้เพื่อนๆ มีแผนการเงินที่ดีและ พร้อมต่อสู้กับทุกช่วงวิกฤตในชีวิตได้เลยนะครับ
ผู้เขียน  ปรีชา มานพInsights
เรื่อง “การวางแผนการเงิน” เป็นเรื่องที่สำคัญเป็นวาระแห่งชาติ ที่ทุกคนต้องใส่ใจ มาลองเรียนรู้วิธีวางแผนการเงินด้วยกัน จะทำให้เพื่อนๆ มีแผนการเงินที่ดีและ พร้อมต่อสู้กับทุกช่วงวิกฤตในชีวิตได้เลยนะครับ
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์