Cardano(ADA)คืออะไร?

6 นาที
อัพเดทครั้งล่าสุด 17 ส.ค. 2566 09:52 น.
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

Cardano(ADA)คืออะไร?


เหรียญ Cardano หรือ ADA เป็นเหรียญสาย Smart Contract สร้างขึ้นเมื่อปี 2015 โดย Charles Hoskinson (ชาร์ลส์ ฮอสกินสัน) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งเหรียญ Ethereum ที่ใครหลาย ๆ คนคงรู้จักกันดี Cardano ถือเป็นเหรียญดิจิทัลที่มีผู้คนจับตามอง และพูดถึงมากเป็นอันดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้ ในเรื่องของการพัฒนาระบบให้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และมีค่าธรรมเนียมถูกกว่า จนได้ฉายาเป็นว่า “Ethereum Killer” จะเป็นเหรียญที่พัฒนามาโค่น Ethereum


ตามการรายงานของเว็บ CoinMarketCap ปัจจุบัน Cardano มีมูลค่าทางการตลาดอยู่ที่ประมาณ $9,797 ล้านดอลลาร์ Max Supply ของเหรียญอยู่ที่ 45,000 ล้านเหรียญ และมีหมุนเวียนในระบบประมาณ 35,039  ล้านเหรียญ หรือ 77.86% เคยทำ All Time High ที่ราคา $0.279 ถือครอง Market cap อยู่ที่อันดับ 8 ของโลก 


Cardano นั้น มีชื่อย่อคือ ADA มีที่มาจากนักวิยาศาสตร์ชาวอังกฤษ “Ada Lovelace” ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “โปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก” ADA ได้ทีมวิศวกรที่เชี่ยวชาญ โดยจำการใช้เหรียญ ADA มาจ่ายเป็นค่าธุรกรรม เหมือนกันกับที่ Ethereum Blockchain ช้เหรียญ ETH ในการจ่ายค่าธุรกรรม


ประโยชน์ของเหรียญ ADA มีอะไรบ้าง

Cardano ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้คอนเซ็ปท์ของคริปโตเคอเรนซีเจเนอเรชั่นใหม่ ที่จะเปลี่ยนระบบการทำงานเดิมๆ ของ Ethereum สู่เทคโนโลยีบล็อกเชนที่ช่วยประหยัดค่าธรรมเนียม เพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกรรม พร้อมความสามารถในการปรับโซลูชันเพื่อรองรับการใช้งานจริงกับโปรเจกต์ต่างๆ ในส่วนนี้ผมได้สรุปข้อดีข้อเสียที่จะช่วยให้นักลงทุนเข้าใจภาพรวมชอง ADA มากยิ่งขึ้น


  • ADA รองรับการทำธุรกรรมที่ความเร็ว 270 รายการ/วินาที ในขณะที่ Ethereum อยู่แค่ 15 รายการ/วินาที เท่านั้น

  • Cardano มีจำนวน Max supply อยู่ที่ 45,000 ล้านเหรียญ โดยตอนนี้มีอุปทานหมุนเวียนในระบบราวๆ 77.8% โดยตัวเลขอุปทานจะคงที่ 

  • แพลตฟอร์ม Cardano เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการ Smart Contract ที่ดีที่สุดในโลก จากการใช้ภาษา Plutus หรือ Marlowe ในการร่างสัญญาที่ยกระดับความปลอดภัยให้สูงยิ่งขึ้น

  • บล็อกเชน Cardano เป็นหนึ่งในคริปโตเคอเรนซีที่ทำงานภายใต้ระบบ Proof of Stake (PoS) โดยจะเปิดให้นักลงทุนวางสินทรัพย์ เพื่อแลกกับสิทธิ์ในการตรวจสอบและยืนยันธุรกรรม

  • Cardano ยังพัฒนาระบบที่ช่วยป้องกันเทคโนโลยี Quantum ที่อาจกลายเป็นภัยคุกคามสำคัญต่อเหรียญคริปโตในอนาคต ผ่านระบบจำลองที่สามารถทดสอบอัลกอริทึมได้อย่างมีประสิทธิภาพ


Cardano VS Ethereum

ถึงแม้ว่า Ethereum และ Cardano จะเป็นเหรียญประเภทเดียวกันแต่ก็มีข้อแตกต่างเหมือนกัน Ethereum นั้นจะใช้ระบบProof-of-work (PoW) สามารถทำธุรกรรมได้ 15 ธุรกรรม/วินาที โดยตัว Ethereum เองก็พยายามแก้ไขข้อเสียในจุดนี้เช่นกัน โดยจะเปลี่ยนมาใช้ระบบ Proof-of-Stake (PoS) กับ ETH 2.0 เป็นเหมือนการอัปเกรด แต่ก็ต้องรอดูอีกทีว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยขนาดไหน ในด้านของ Cardano นั้นใช้ระบบ Proof-of-stake (PoS) ซึ่งระบบนี้จะรองรับการทำธุรกรรมได้มากขึ้น และรวดเร็วขึ้นกว่าเดิมเยอะมาก การทำธุรกรรมสามารถทำได้ 270 ธุรกรรม/วินาที ถ้าจะให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือสามารถทำทุกอย่างได้เร็วกว่า และค่าธรรมเนียมก็ถูกกว่า Ethereum จึงเป็นเหตุผลที่คนให้ความสนใจว่า Cardano อาจจะมาแทนที่ Ethereum ได้


โดยจุดประสงค์หลักของการสร้าง Cardano คือ เข้ามาแก้ไขระบบปัญหาของบล็อกเชนที่เกิดขึ้น หลัก ๆ มี 3 ด้าน ประกอบไปด้วย ด้านความสามารถในการเพิ่มขยาย (Scalability) เพิ่มความสามารถจำนวนในการทำธุรกรรมต่อวินาทีได้มากขึ้น, ด้านความสามารถในการทำงานร่วมกัน (Interoperability) สามารถแลกเปลี่ยนโทเคนได้ในทุกรูปแบบ และ ด้านความยั่งยืน (Sustainability) ผ่านสถาปัตยกรรมแบบเป็นลำดับชั้น (layered architecture) ทำให้สามารถปรับตัวไปตามตลาดคริปโตได้



Cardano

Ethereum

มูลค่าตลาดปัจจุบัน

$9,793 ล้านดอลลาร์

$218,998 ล้านดอลลาร์

กลไกทางเทคโนโลยี

Proof of Work (PoW)

Proof of Stake (PoS)

จำนวนธุรกรรมโดยประมาณ

270 ธุรกรรม/วินาที

15 ธุรกรรม/วินาที

ค่าธรรมเนียมโดยเฉลี่ย

$0.25 ต่อครั้ง

$5 ต่อครั้ง

แนวทางการรับมือกับQuantum     

เริ่มพัฒนาแล้ว

ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด

MAX Supply (เหรียญ)                 

45,000,000,000

ไม่มีกำหนด (Infinite Supply)

รูปภาพที่แสดง ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง Cardano และ Ethereum



แพลตฟอร์มที่พัฒนาบน Cardano Blockchain

Cardano มีแฟลตฟอร์มบนระบบบล็อกเชนที่เพิ่งปล่อยมาช่วงมกราคม ปี 2022 คือ SundaeSwap DEX ที่สามารถเข้าไปทำการแลกเปลี่ยนเหรียญดิจิทัล และทำการฟาร์มได้คล้าย ๆ กับ PancakeSwap ของ Binance Smart Chain ที่เรารู้จักกัน ซึ่งโปรเจกต์นี้มีคนเข้ามาให้ความสนใจมากมาย มีจำนวนธุรกรรม TVL พุ่งสูงถึง 108.3 ล้านดอลลาร์ ถือเป็นโปรเจกต์ที่น่าสนใจจริง ๆ นอกจากนี้ยังมีโปรเจกต์ Ardana ที่คล้ายกับ Makerdao ของ Ethereum อีกด้วย โดยการจะทำธุรกรรมเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ Wallet ของ Cardano นั้นก็คือ Daedalus Wallet ที่มีไว้เพื่อจัดเก็บเหรียญดิจิทัลในการทำธุรกรรม


ในตอนนี้ Cardano ก็ยังมีการพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ระบบเสถียร และมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อผู้ใช้งาน อีกทั้งยังมีการพัฒนาระบบเพื่อป้องกันเทคโนโลยี Quantum ที่อาจจะสร้างความเสียหาย และเป็นภัยต่อเหรียญคริปโตได้ในอนาคต ซึ่งในขั้นตอนแรกของกระบวนการที่ Cardano ทนต่อการโจมตีของ Quantum ได้นั้นคือ การเปิดจำลองเพื่อทดสอบอัลกอริทึมของ Cardano

Roadmap ของ Cardano

มาลองดูกันว่าแผนที่ Cardano ถูกวางไว้จะเป็นอย่างไรกันบ้างหลังจากที่ได้มีการอัปเกรดไปในช่วง สิงหาคม 2021

 

Bylon – ยุคแห่งการวางรากฐาน ในช่วงแห่งการเริ่มต้น จุดประสงค์แรกเลยคือการวางโครงสร้างพื้นให้กับเครือข่าย ทำให้ Cardano สามารถซื้อขายเหรียญ ADA ได้ พัฒนาใช้ระบบการทำงานเป็นแบบ Proof-of-Stake (PoS) เป็นต้น 

Shelly – ยุคแห่งการกระจายอำนาจ มีจุดประสงค์มุ่งไปสู่ความเป็น Decentralized ให้มากขึ้นจากในยุค Bylon ที่ผ่านมา ที่ดูเหมือนจะไม่ค่อยมีความเป็น Decentralized เท่าไรเนื่องจากยังไม่มี Node จากผู้ใช้งานเครือข่าย

 

Goguen – ยุคของ Samrt Contract (ปัจจุบัน) ระบบของ Cardano หลัก ๆ แล้วเป็นเหรียญสาย Smart Contract เหมือนอย่าง Ethereum ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น ในส่วนของยุคนี้เป็นยุคที่เริ่มนำ Smart Contract มาใช้พัฒนาระบบต่าง ๆ รวมไปถึงการสร้าง Decentralized applications (dApps) เช่น Liqwid, Charli3, Adax และ SundaeSwap เป็นต้น

 

Basho - ยุคของการสเกลลิ่ง จุดประสงค์หลักเพื่อยกระดับความสามารถให้มากขึ้นเพื่อรองรับความเติบโตที่สูงขึ้น โดยมีการเปิดตัวบล็อกเชนรอง (Sidechain) เพื่อใช้เป็นกลไกกับ Sharding ซึ่งจะทำการแบ่งภาระจากบล็อกเชนหลักไปสู่บล็อกเชนรอง 

 

Voltaire - ยุคการปกครองตนเอง มาถึงยุคสุดท้ายของ Cardano มีจุดประสงค์คือ ให้ Cardano สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง โดยจะมีการเปิดระบบโหวต เพื่อให้ผู้ใช้งานได้มีสิทธิ์ใช้เสียงของตัวเองเพื่อกำหนดระบบอนาคตของเครือข่ายได้ โดยไม่จำเป็นต้องให้ผู้พัฒนามาดูแลอีกต่อไป ระบบนิเวศของระบบก็จะยังสามารถอยู่ต่อไปได้เรื่อย ๆ


ในช่วง มิ.ย. 2565 ที่จะถึงนี้ Cardano ก็มีแผนที่จะอัปเกรดระบบอีกครั้งหนึ่งโดยใช้ชื่อว่า Vasil Hard Fork ถือเป็นการอัปเกรดครั้งใหญ่อีกครั้ง ซึ่งตัวผู้สร้างอย่าง Charles Hoskinson ก็ให้ความสำคัญสำหรับการอัปเกรดครั้งนี้มาก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขยายเครือข่าย จะช่วยยกระดับความสามารถในการสร้าง Block ของบล็อกเชน และยังสามารถช่วยให้ Cardano มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม

เหรียญ ADA ดีไหม? วิธีเทรดเหรียญ ADA

ADA เป็นสกุลเงินหลักที่ใช้ทำธุรกรรมบนบล็อกเชนของ Cardano ได้รับการดูแลและพัฒนาโดยเครือข่าย Input Output Hong Kong หรือ IOHK เหรียญ ADA คือ หนึ่งในคริปโตที่มีมูลค่าตลาดรวมสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก มีแนวโน้มราคาที่ยังอยู่ในแดนขาขึ้น นอกจากนี้ยังมีข่าวการลงทุนในโปรเจกต์ต่างๆ ที่กำลังพัฒนาในช่วงปี 2023 อีกมากมาย


นักลงทุนจำนวนมากจึงเลือกเทรดเหรียญ ADA ด้วยวิธี CFD บน MiTRADE โบรกเกอร์ที่ได้มาตราฐานและเปิดระบบจำลองการเทรดให้ใช้งานได้แบบฟรีๆ นำเสนอประเภทบัญชีให้เลือกสมัครได้อย่างอิสระ นักลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนได้ทั้งขาขึ้นและขาลง เก็งกำไรจาก ADA และ เหรียญคริปโตชั้นนำอีกเพียบ นอกจากนี้ ยังมีอินดิเคเตอร์และเครื่องมือช่วยเทรดต่างๆ ที่จะเพิ่มความแม่นยำและลดความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ


mitrade
dago กำกับดูแลโดย ASIC/CIMA/FSC
dago ค่าคอมมิชชั่น 0 สเปรดต่ำ
dago เทรดได้ทั้งขาขึ้นและขาลง
dagoฟรีเงินเสมือนจริง $50,000 ดอลล่าร์
ตราสารอนุพันธ์อาจจะทำให้คุณขาดทุนทั้งหมด โปรดอ่านพิจรนา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของเรา นำเสนอ โดย Mitrade Holding Ltd.SIB License 1612446
ตราสารอนุพันธ์อาจจะทำให้คุณขาดทุนทั้งหมด โปรดอ่านพิจรนา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของเรา นำเสนอ โดย Mitrade Holding Ltd.SIB License 1612446

สรุป

ADA คริปโตเคอเรนซีบนเครือข่าย Cardano ถือเป็นหนึ่งในสกุลเงินดิจิตอลที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาในตอนนี้ ด้วยคอนเซ็ปท์ของการพัฒนาที่ชัดเจน มุ่งปฏิวัติ Smart Contract ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลดค่าธรรมเนียม เพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกรรม พร้อมกระจายความเสี่ยงด้วย Roadmap ทางการเงินที่ไม่ได้ถูกสร้างแค่ผู้พัฒนาเพียงอย่างเดียว จนกระทั่งได้รับฉายาว่าเป็น Ethereum Killer บล็อกเชนที่ให้บริการเหมือน ETH ทุกประการ

ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลอ้างอิงจาก

https://www.moneybuffalo.in.th/cryptocurrency/is-cardano-ada-the-ethereum-killer

https://www.moneyandbanking.co.th/article/the-guru/cardano-ada-ethereum-cryptocurrency-070964

https://www.blockdit.com/posts/60182b251d3c28177dea990c

https://th.investing.com/news/cryptocurrency-news/article-55053

คำถามที่พบบ่อย
1. ทำไมส่วนใหญ่บอกว่า Cardano นั้นดีกว่า Ethereum?
หากวัดกันที่ราคาในระยะสั้นถึงกลาง Cardano มีแนวโน้มของการซื้อที่ดีกว่า ราคาอยู่ในระดับที่ถูกกว่าเมื่อเทียบกับ Ethereum ในตอนนี้
2. ทำไม ADA ถึงต้องมี Wallet?
ADA เป็นเหรียญหลักที่ถูกใช้ในบล็อกเชน Cardano ดังนั้นนักลงทุนที่ถือครองเหรียญนี้ก็จำเป็นต้องเปิดบัญชี Wallet เพื่อเก็บ ADA เอาไว้ใช้ในการ Staking
3. ความพิเศษของ ADA คืออะไร?
ADA เป็นสกุลเงินหลักที่ใช้คู่กับ Cardano บล็อกเชนที่สร้างความแตกต่างด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์ที่ไม่มีใครเหมือน พร้อมจุดเด่นทางสถาปัตยกรรมที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
Ripple (XRP) น่าลงทุนหรือไม่ในกระแสการเติบโตของสกุลเงินดิจิทัล คราวนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสกุลเงินนี้กัน รวมถึงคำถามที่ว่า Ripple (XRP) น่าลงทุนไหม วิธีเทรด Ripple (XRP) และเมื่อเทียบกับรุ่นพี่อย่าง Bitcoin และ Ethereum แล้ว Ripple (XRP) ยังดูน่าสนใจอยู่หรือไม่ ตามไปดูกันได้เลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
คราวนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสกุลเงินนี้กัน รวมถึงคำถามที่ว่า Ripple (XRP) น่าลงทุนไหม วิธีเทรด Ripple (XRP) และเมื่อเทียบกับรุ่นพี่อย่าง Bitcoin และ Ethereum แล้ว Ripple (XRP) ยังดูน่าสนใจอยู่หรือไม่ ตามไปดูกันได้เลย
placeholder
ราคา Ethereum วันนี้ การคาดการณ์ราคา Ethereum เทรดอย่างไร? Ethereum ที่ว่านี้จะกลายมาเป็นอนาคตในวงการการเงินและมีการซื้อขายกันอย่างคึกคักน่าเทรดได้อย่าง Bitcoin รึเปล่า แล้วจะมีวิธีเทรด Ethereum ได้อย่างไร บทความนี้เราจะพาเทรดเดอร์ไปสำรวจสินทรัพยที่เรียกว่า Ethereum กัน
ผู้เขียน  MitradeInsights
Ethereum ที่ว่านี้จะกลายมาเป็นอนาคตในวงการการเงินและมีการซื้อขายกันอย่างคึกคักน่าเทรดได้อย่าง Bitcoin รึเปล่า แล้วจะมีวิธีเทรด Ethereum ได้อย่างไร บทความนี้เราจะพาเทรดเดอร์ไปสำรวจสินทรัพยที่เรียกว่า Ethereum กัน
placeholder
Smart contract (สัญญาอัจฉริยะ) คืออะไร?Smart contract (สัญญาอัจฉริยะ) คือโปรแกรมที่สร้างไว้บน Blockchain, มันเป็น Code ที่ถูกเขียนเอาไว้ หรือ ‘สมการ’ และ Data หรือ ‘สถานะ’ ที่จะใส่เข้าไปในแต่ละช่องของ Blockchain
ผู้เขียน  ภัสนัย จิรฤกษ์มงคลInsights
Smart contract (สัญญาอัจฉริยะ) คือโปรแกรมที่สร้างไว้บน Blockchain, มันเป็น Code ที่ถูกเขียนเอาไว้ หรือ ‘สมการ’ และ Data หรือ ‘สถานะ’ ที่จะใส่เข้าไปในแต่ละช่องของ Blockchain
placeholder
BUSD คืออะไร? เหรียญ BUSD ปลอดภัยไหม?ซึ่งในบทความนี้เราจะมาสำรวจอย่างครอบคลุมเกี่ยวกับ BUSD เช่น BUSD คืออะไร ทำงานอย่างไร มีข้อดีและข้อเสียยังไง ปลอดภัยไหม น่าลงทุนไหมเป็นต้น ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
ซึ่งในบทความนี้เราจะมาสำรวจอย่างครอบคลุมเกี่ยวกับ BUSD เช่น BUSD คืออะไร ทำงานอย่างไร มีข้อดีและข้อเสียยังไง ปลอดภัยไหม น่าลงทุนไหมเป็นต้น ตามมาดูกันเลย
placeholder
Airdrop คืออะไร เรื่องใกล้ตัวที่คุณควรรู้ ก่อนลงทุนใน Cryptocurrencyในช่วงเวลาที่ผ่านมาเรามักจะได้ยินคำว่า ล่า Airdrop จากกลุ่มนักลงทุนในวงการนี้เป็นอย่างมาก เนื้อหาบทความนี้จะเป็นเกร็ดความรู้เกี่ยวความน่าสนใจ Airdrop คืออะไร วิธีการรับ Airdrop พร้อมทั้งแนะนำวิธีการตามล่า Airdrop ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  ชัญญาพัชร์ ประวาสุขInsights
ในช่วงเวลาที่ผ่านมาเรามักจะได้ยินคำว่า ล่า Airdrop จากกลุ่มนักลงทุนในวงการนี้เป็นอย่างมาก เนื้อหาบทความนี้จะเป็นเกร็ดความรู้เกี่ยวความน่าสนใจ Airdrop คืออะไร วิธีการรับ Airdrop พร้อมทั้งแนะนำวิธีการตามล่า Airdrop ตามมาดูกันเลย
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์