Smart contract (สัญญาอัจฉริยะ) คืออะไร?

6 นาที
อัพเดทครั้งล่าสุด 18 ส.ค. 2566 03:20 น.
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

Smart contract (สัญญาอัจฉริยะ) คืออะไร?

Smart contract (สัญญาอัจฉริยะ) คือโปรแกรมที่สร้างไว้บน Blockchain เป็น Code ที่ถูกเขียนเอาไว้ หรือ ‘สมการ’ และ Data หรือ ‘สถานะ’ ที่จะใส่เข้าไปในแต่ละช่องของ Blockchain


Smart contract ของ Ethereum นั้นถูกโปรแกรมให้คุณสามารถส่งเงินระหว่างกระเป๋าของกันและกัน และยังส่งไปนอก Network ก็ได้ เช่น ไป Chain อื่นๆ


แต่การส่งเงินเหล่านั้นมันไม่ได้ถูกส่งโดย ‘คน’ กดป้อนคีย์คำสั่ง แต่มันถูกสร้างโดย ‘Smart contract’ หรือสมการที่ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่แรกว่า หากบัญชีนี้กดโอนเงิน มันจะถูกโอนไปยังบัญชีนี้อัตโนมัติ


Smart contract นั้นจะไม่สามารถถูก ‘ลบ’ ทิ้งได้หรือเปลี่ยนแปลงได้


ความเชื่อมั่นกับ Contract

Contract ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง ‘กฎหมาย’ ในชีวิตจริง แต่มันคือกฎหมายใน Blockchain ที่เราจะใส่เงื่อนไขและรางวัลในการทำอะไรซักอย่าง ปกติเราจะเขียนใส่กระดาษ แต่ในโลกแห่งอินเทอร์เน็ตเราเขียนมันบน Blockchain ที่จะให้คอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องรัน


ปัญหานึงของสัญญาในชีวิตจริงคือ เราไม่สามารถที่จะเชื่อใจปัจเจกชนได้ เราไว้ใจที่มันมีผลบังคับทางกฎหมาย แต่ถ้าเราอยู่ในนานาชาติที่กฎหมายบังคับใช้ยาก มันจะเป็นเช่นไร?


เราลองมาดูตัวอย่างกัน


ยกตัวอย่างการใช้ Smart contract ด้วยการแข่งจักรยานกัน


น้องปูและน้องกอล์ฟกำลังแข่งจักรยานกัน น้องปูพนันน้องกอล์ฟ $10 ว่าเธอจะชนะแข่ง น้องกอล์ฟคิดว่าเขาน่าจะชนะการพนันนี้เช่นกัน สุดท้ายแล้ว น้องกอล์ฟเป็นฝ่ายชนะ แต่น้องปูโกงไม่จ่ายดื้อๆ


แต่ปัญหานี้จะหมดไปถ้าหากเราเปลี่ยนไปใช้ Smart contract (สัญญาอัจฉริยะ) โดยที่เราตั้งสมการไว้ตั้งแต่แรกว่าผู้ชนะได้เงิน เมื่อผลรายการออกมา มันจะส่งเงินให้ผู้ชนะทันที

Smart contract ทำงานอย่างไร?

Smart contract ทำงานเหมือนตู้กดอัตโนมัติ


Smart contract นั้นทำงานเหมือนตู้กดอัตโนมัติ การตั้ง Output ซักอย่างเมื่อใส่ Input ที่กำหนดลงไป


  • เลือก ‘ของ’

  • ใส่ ‘เงินที่กำหนด’ เพื่อซื้อของที่ต้องการ

  • ใส่เงินจำนวณเท่านั้น

  • ตู้กดของตรวจสอบจำนวณเงินที่แน่นอน

  • ตู้ส่งของตามจำนวณเงินที่ใส่ไว้


ตู้กดอัตโนมัติจะส่งเงินของที่คุณต้องการเมื่อประจวบกับเงินที่มันกำหนดเอาไว้ทีแรก ถ้าคุณไม่ได้ใส่เงินเข้าไปตามที่กำหนดไว้ ของจะไม่ได้ออกมา

ข้อดีของ Smart contract

 ●  การทำงานแบบอัตโนมัติ

เรื่องนึงที่สำคัญมากๆสำหรับ Smart contract ก็คือมันสามารถสร้างผลลัพธ์ให้ได้อย่างที่เราเขียนโค้ดไว้ได้เลย โดยที่เราไม่ต้องให้คนมาทำงานหรือส่งเงินแทน ทุกๆคนเชื่อใน Code ที่ถูกเขียนไว้ตั้งแต่แรก เราเรียกการทำงานของ Code เหล่านี้ว่า ‘Smart contract’


เช่น หากเรากำหนดไว้ว่าหากเด็กเติบโตจนถึงอายุที่กำหนด เขาจะสามารถถอนเงินที่ฝากไว้ได้ ระบบมันจะทำตามนั้น หากมันไม่สามารถตรวจจับข้อมูลเหล่านั้นที่ถูกตรวจสอบอยู่บน Blockchain ได้ Smart contract ก็จะไม่ทำงานหรือปฎิเสธมันไป


 ●  Blockchain เป็นข้อมูลสาธารณะ

Smart contract ยังสามารถถูกตรวจสอบและเข้าไปไล่ดูได้เพราะมันเป็น Public Blockchain คุณสามารถตรวจสอบดูกระเป๋าใครก็ได้หากคุณมี address กระเป๋าของเขา


 ●  การปกปิดข้อมูลเป็นส่วนตัว

Smart contract ยังจะสามารถเก็บข้อมูลของคุณให้เป็นส่วนตัวได้อีกด้วย เพราะมันจะถูกระบุไว้แค่ชื่อกระเป๋าของคุณ แต่กระเป๋าของคุณนั้นจะไม่ได้ถูกผูกติดกับหลักฐานในชีวิตจริงคุณแต่อย่างใด ทำให้คุณมั่นใจได้เลยว่าคุณไม่ถูกตรวจสอบตัวจริงได้


 ●  ตรวจสอบการทำงานได้

เนื่องจาก Smartcontract นั้นสามารถดูได้ตั้งแต่วันแรกที่คุณใช้ Code จะเป็นแบบ Public ทำให้ทุกคนสามารถเข้ามาดูวิธีการทำงานของมันได้

ข้อเสียของ Smart contract

  • การที่ Smart contract ไม่มีตัวกลางในการควบคุมอะไรก็ตามนั้น มันอาจจะมีข้อเสียในเหตุหลายอย่างที่ต้องใช้คนจัดการ แต่อาจจะทำไม่ได้เนื่องจากมันเป็น Blockchain ที่ไม่มีใครสามารถมาแก้โค้ดได้


  • กฎหมาย มันยังไม่รองรับการใช้งาน Smart contracts นี้ แปลว่าหากมีอะไรที่ต้องการใช้กฎหมายช่วยเหลือนั้น มันไม่สามารถทำได้ ไม่ว่าคุณจะถูกโกงหรืออะไรก็ตาม เนื่องจากมันเป็นระบบอนาธิปไตย ทุกคนดูแลตัวเอง


  • ทุกๆ อย่างขึ้นอยู่กับ Code นั้นทำให้เราต้องมั่นใจใน Developer ว่าโค้ดทุกๆบรรทัดของพวกเขานั้น ไร้ข้อบกพร่อง ทำงานได้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะหาก Code ของพวกเขานั้นถูกเขียนมาให้โดนแฮ็คง่ายตั้งแต่แรก คำตอบอาจจะเป็นว่าคุณไม่สามารถแก้ไขอะไรได้เลย

การใช้งานของ Smart Contracts

Smart contracts นั้นคือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกรันบน Blockchain ซึ่งมันทำงานโดยอัตโนมัติ คุณสามารถที่จะตรวจสอบ Transaction ย้อนหลังได้สะดวกและสร้างมันเองได้อย่างอิสระไม่มีค่าใช้จ่าย แต่คำถามคือมันเอาไปสร้างอะไรได้บ้าง? หลังจากที่เรารู้ถึงข้อดีของมันแล้ว เรามาดูกันว่ามันทำอะไรได้


ทุกวันนี้เราใช้มันไปในการคำนวณ การสร้างเหรียญ การเก็บ Data การสร้าง NFT หรือแม้กระทั่งการสร้างรูปภาพเองก็ตาม เราจะยกตัวอย่างให้ฟังกัน


Use case of Smart Contract - Stablecoin


1.  Stablecoin

Stablecoin คือคริปโตเคอเรนซี่ที่ถูกออกแบบมาให้มันมีมูลค่าคงที่ไม่ผันผวน มันยังสามารถที่จะใช้กับ ETH ได้อีกด้วย คุณค่าของมันจะใกล้เคียงกับค่าเงินปัจจุบัน เรามาลองดูว่ามี Stablecoin ไหนบ้างที่สร้างบน Ethereum


ข้อดีของ Stablecoin

  • Stablecoin นั้นใช้ส่งกันได้ทั่วโลก เราสามารถที่จะส่งเงินได้ผ่านอินเทอร์เน็ต มันยังสามารถส่งผ่าน ETH account หรือ Wallet ได้อีกด้วย

  • ความต้องการของ Stablecoin นั้นสูงกว่าคริปโตแบบปกติ คุณสามารถฝากเงินไว้ในแพลตฟอร์มที่รับฝาก Stablecoin เพื่อให้พวกเขาไปปล่อยเงินกู้ได้อีก

  • Stablecoin นั้นสามารถแลกเปลี่ยนไปมาระหว่างเหรียญของ ETH ตัวอื่นได้ มีหลายๆ Daaps ที่รับ Stablecoin

  • Stablecoin นั้นถูกปกป้องด้วย Cryptograhpy ไม่มีใครสามารถสร้างมันหรือขโมยมันไปจากคุณได้


Stablecoin ที่ถูกสร้างบน Ethereuem Blockchain

  • Dai - เหรียญ Stablecoin แบบ Crypto-backed ที่มีชื่อเสียงในด้าน Decentralized มากที่สุด มีมูลค่า 1 Dai = 1 USD ถูกใช้บน Dapps หลากหลายในปัจจุบัน

  • USDC - เหรียญ Stablecoin แบบ Fiat-backed ที่มีมูลค่า = 1USD โดย Coinbase และ Circle bank

  • Tether - เหรียญ Stablecoin แบบ Fiat-backed ตัวแรกบนตลาดที่มีอายุการใช้งานสูงที่สุด 


Use case of Smart Contract - NFT



2.  Non-fungible tokens (NFT)

NFT คือ Token ที่ถูกปรับมาให้ใช้เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของของผู้ถือ ซึ่งจะสามารถสอดคล้องกับ Usecase บนโลกจริงได้คือ Art, Real estate ที่ซึ่งคุณสามารถมี Identity แบบ Digital ได้ที่น่าเชื่อถือว่าหลักฐานจริง ไม่มีใครสามารถก็อปปี้ได้หรือดัดแปลงได้


NFT ในปัจจุบันถูกใช้เพื่อเพิ่มความเป็นเจ้าของของสินค้าอะไรก็ตามที่คุณอยากให้มันแตกต่าง เช่น File เพลง, File รูปภาพ หรืออะไรก็ได้ที่อยู่บนโลกออนไลน์


Fungible item นั้นหมายถึงสินค้าที่แลกเปลี่ยนได้ในอัตราที่เท่าเทียม เช่น การจะแลก 1 USD กับ 1 BUSD นั้นสามารถทำได้เนื่องจากมันถูกผลิตออกมามาก มีโค้ดที่หน้าตาเหมือนกันๆ แต่ Non-fungible token ในทางเทคนิคแล้วแต่ละ Token จะมีโค้ดที่ต่างกัน ทำให้มันแลกเปลี่ยนกันไม่ได้ในอัตราที่เท่าเทียม


ตัวอย่าง NFT usecase ที่ใช้งานปัจจุบัน

  • Foundation - Dapps สำหรับแสดงงานศิลปะ ซื้อ/ขาย/สะสม ได้ในเว็ปเดียว

  • The X - รองเท้า Sneaker NFT ที่ถูกลงสีโดย AI และสามารถใช้ได้บนโลก Metaverse ไม่ว่าจะเป็นการเอาไปแลกเป็นรองเท้าบนโลกจริง, Snapchat, Sandbox

  • Decentraland - พวกสินค้าในโลก Metaverse เครื่องประดับต่างๆ ที่เราจ่ายกันเป็นมูลค่าจริง

  • ENS - Ethereum Name Service ที่คุณสามารถตั้งชื่อกระเป๋าของคุณได้เป็นภาษาอังกฤษ


3.  Decentralized Exchanges (DEXs)

Decentralized Exchange คือตลาดการแลกเปลี่ยนเหรียญระหว่าง ETH หรือเหรียญอะไรก็ได้ระหว่างกัน เพื่อจับความต้องการระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายให้ตรงกัน


แทนที่เราจะต้องใช้บริการของพ่อค้าคนกลางแบบในอดีต เราสามารถที่จะใช้ Smart contracts ในการทำธุรกรรมแลกเงินเหล่านั้นได้


นั้นหมายความว่าเรากำลังจะเปลี่ยนโลกของการแลกเงินไปโดยสิ้นเชิง เรามีทางเลือกในการไม่ใช่แพลตฟอร์มที่รวมศูนย์เหล่านั้น เราสามารถใช้เงินอะไรก็ได้ในการซื้อของอะไรก็ได้ง่ายขึ้นด้วย DEX สามารถที่จะทำหน้าที่ส่งเงินหรือซื้อเหรียญผ่านแพลตฟอร์มนี้ก็ได้นะ


แพลตฟอร์มตัวอย่าง

Uniswap, Kyber, dYdX, 1nch

อนาคตของ Smart contract

Smart contract นั้นเป็นเทคโนโลยีที่สุดยอดและ Developer สามารถนำไอเดียนี้ไปปรับใช้กับตัวเองเพื่อสร้างโปรเจ็คอันน่าทึ่งใหม่ๆได้


ในอนาคตวงการ Blockchain จะเติบโตขึ้นและมี Usecase ใหม่ๆเกิดขึ้นเรื่อยๆ แต่ละ Dapps จะเพิ่มขีดจำกัดให้ App อื่นๆสร้างบนมันต่อไปเรื่อยๆต่อๆไป


ยังมีอีกหลายวงการที่ Blockchain ยังสามารถเข้าไปพัฒนาต่อได้ ไม่ว่าจะเป็น อสังหาริมทรัพย์, ประกัน, รัฐบาล, กฎหมาย และทุกๆอย่างที่ต้องการย้ายมาใน Digital และต้องการความปลอดภัย



อ้างอิง

Introduction to smart contracts

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
Ripple (XRP) น่าลงทุนหรือไม่ในกระแสการเติบโตของสกุลเงินดิจิทัล คราวนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสกุลเงินนี้กัน รวมถึงคำถามที่ว่า Ripple (XRP) น่าลงทุนไหม วิธีเทรด Ripple (XRP) และเมื่อเทียบกับรุ่นพี่อย่าง Bitcoin และ Ethereum แล้ว Ripple (XRP) ยังดูน่าสนใจอยู่หรือไม่ ตามไปดูกันได้เลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
คราวนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสกุลเงินนี้กัน รวมถึงคำถามที่ว่า Ripple (XRP) น่าลงทุนไหม วิธีเทรด Ripple (XRP) และเมื่อเทียบกับรุ่นพี่อย่าง Bitcoin และ Ethereum แล้ว Ripple (XRP) ยังดูน่าสนใจอยู่หรือไม่ ตามไปดูกันได้เลย
placeholder
ราคา Ethereum วันนี้ การคาดการณ์ราคา Ethereum เทรดอย่างไร? Ethereum ที่ว่านี้จะกลายมาเป็นอนาคตในวงการการเงินและมีการซื้อขายกันอย่างคึกคักน่าเทรดได้อย่าง Bitcoin รึเปล่า แล้วจะมีวิธีเทรด Ethereum ได้อย่างไร บทความนี้เราจะพาเทรดเดอร์ไปสำรวจสินทรัพยที่เรียกว่า Ethereum กัน
ผู้เขียน  MitradeInsights
Ethereum ที่ว่านี้จะกลายมาเป็นอนาคตในวงการการเงินและมีการซื้อขายกันอย่างคึกคักน่าเทรดได้อย่าง Bitcoin รึเปล่า แล้วจะมีวิธีเทรด Ethereum ได้อย่างไร บทความนี้เราจะพาเทรดเดอร์ไปสำรวจสินทรัพยที่เรียกว่า Ethereum กัน
placeholder
BUSD คืออะไร? เหรียญ BUSD ปลอดภัยไหม?ซึ่งในบทความนี้เราจะมาสำรวจอย่างครอบคลุมเกี่ยวกับ BUSD เช่น BUSD คืออะไร ทำงานอย่างไร มีข้อดีและข้อเสียยังไง ปลอดภัยไหม น่าลงทุนไหมเป็นต้น ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
ซึ่งในบทความนี้เราจะมาสำรวจอย่างครอบคลุมเกี่ยวกับ BUSD เช่น BUSD คืออะไร ทำงานอย่างไร มีข้อดีและข้อเสียยังไง ปลอดภัยไหม น่าลงทุนไหมเป็นต้น ตามมาดูกันเลย
placeholder
Airdrop คืออะไร เรื่องใกล้ตัวที่คุณควรรู้ ก่อนลงทุนใน Cryptocurrencyในช่วงเวลาที่ผ่านมาเรามักจะได้ยินคำว่า ล่า Airdrop จากกลุ่มนักลงทุนในวงการนี้เป็นอย่างมาก เนื้อหาบทความนี้จะเป็นเกร็ดความรู้เกี่ยวความน่าสนใจ Airdrop คืออะไร วิธีการรับ Airdrop พร้อมทั้งแนะนำวิธีการตามล่า Airdrop ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  ชัญญาพัชร์ ประวาสุขInsights
ในช่วงเวลาที่ผ่านมาเรามักจะได้ยินคำว่า ล่า Airdrop จากกลุ่มนักลงทุนในวงการนี้เป็นอย่างมาก เนื้อหาบทความนี้จะเป็นเกร็ดความรู้เกี่ยวความน่าสนใจ Airdrop คืออะไร วิธีการรับ Airdrop พร้อมทั้งแนะนำวิธีการตามล่า Airdrop ตามมาดูกันเลย
placeholder
Cardano(ADA)คืออะไร?เหรียญ Cardano หรือ ADA เป็นเหรียญสาย Smart Contract สร้างขึ้นเมื่อปี 2015 โดย Charles Hoskinson (ชาร์ลส์ ฮอสกินสัน) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งเหรียญ Ethereum ที่ใครหลาย ๆ คนคงรู้จักกันดี Cardano ถือเป็นเหรียญดิจิทัลที่มีผู้คนจับตามอง และพูดถึงมากเป็นอันดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้ ในเรื่องของการพัฒนาระบบให้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และมีค่าธรรมเนียมถูกกว่า จนได้ฉายาเป็นว่า “Ethereum Killer” จะเป็นเหรียญที่พัฒนามาโค่น Ethereum
ผู้เขียน  MitradeInsights
เหรียญ Cardano หรือ ADA เป็นเหรียญสาย Smart Contract สร้างขึ้นเมื่อปี 2015 โดย Charles Hoskinson (ชาร์ลส์ ฮอสกินสัน) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งเหรียญ Ethereum ที่ใครหลาย ๆ คนคงรู้จักกันดี Cardano ถือเป็นเหรียญดิจิทัลที่มีผู้คนจับตามอง และพูดถึงมากเป็นอันดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้ ในเรื่องของการพัฒนาระบบให้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และมีค่าธรรมเนียมถูกกว่า จนได้ฉายาเป็นว่า “Ethereum Killer” จะเป็นเหรียญที่พัฒนามาโค่น Ethereum
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์