หุ้น IPO คืออะไร? จองหุ้น IPO อย่างไร?

8 นาที
อัพเดทครั้งล่าสุด 04 ส.ค. 2566 08:58 น.
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

หากพูดถึงการลงทุน อาจจะเห็นภาพการเทรดหุ้นจากหน้าจอมอนิเตอร์ที่กำลังแสดงการขึ้นลงของกราฟ หรือไม่ก็คงจะเป็นการเข้าดูตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่คุณทราบหรือไม่ว่าการสร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืนจากการลงทุน สามารถเริ่มต้นจาก IPO ได้เช่นกัน เพราะการถือหุ้นในบริษัทดีๆ สักแห่งที่ตัวเราเองมั่นใจว่าจะสามารถบริหารเงินทุนของเราได้อย่างคุ้มค่าและสร้างผลกำไรในอัตราส่วนที่น่าพอใจ ทว่าตลาดการลงทุนในหุ้น IPO ค่อนข้างที่เซนซิทีฟพอสมควร จากสถิติพบว่าว่าหุ้นบางตัวมีราคาวิ่งไปถึง 200% 


บทความนี้จึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่จะตอบข้อคำถามว่าหุ้น IPO คืออะไร ดูหุ้น IPO ได้ที่ไหน ตลอดจนจะจองหุ้น IPO อย่างไร เชิญพบกับคำตอบได้เลยครับ

หุ้น IPO คืออะไร

IPO หรือ Initial Public Offering คือ การเสนอขายหลักทรัพย์หรือหุ้นของบริษัทหนึ่งๆ ให้แก่ประชาชนหรือบุคคลธรรมดาทั่วไปเป็นครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์หลักๆ 


ก็คือเพื่อต้องการระดมเงินทุนเพิ่มเติมจากสาธารณะอันจะสามารถนำไปพัฒนาและขยับขยายธุรกิจให้เติบโตมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญเป็นการเปิดโอกาสให้คนทั่วไปมีสิทธิ์ที่จะมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของบริษัทด้วย ในอีกมุมมองหนึ่งการที่บริษัทออกมาเสนอ IPO กันอย่างนี้เพราะมุ่งมั่นอยากสร้างการรับรู้ในแบรนด์หรือบริษัท และจะส่งผลต่อภาพลักษณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจอย่างมหาศาลในอนาคต

ข้อดีของ IPO

  • ผู้ลงทุน (IPO Investors) เกิดวามมั่นใจจากการดำเนินงานอยู่ภายใต้การดูแลของ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์

  • ผู้ลงทุน (IPO Investors) จะได้รับการจัดสรรผลประโยชน์จากบริษัทอย่างเป็นธรรม

  • เมื่อสภาพเศรษฐกิจอยู่ในช่วงน่าลงทุนหรือเงื่อนไขด้านการตลาดอยู่ในขาขึ้นเป็นการลงทุนที่มีโอกาสในการทำกำไรสูงภายในช่วงเวลาสั้นๆ

  • หากคุณเป็นนักลงทุนที่เก็งกำไรระยะยาว IPO เหมาะสมกับคุณ

  • ไม่ได้ใช้กลยุทธ์หรือเทคนิคเฉพาะมากนัก วิเคราะห์ง่าย แต่ควรศีกษาโปรไฟล์ของบริษัทให้ดี


ข้อเสียของ IPO

  • บริษัทจะต้องยื่นเอกสารประกอบการพิจารณาจดทะเบียน เช่น ข้อมูลทางการเงิน งบกำไรขาดทุน ตลอดทั้งภาษีของบริษัท ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะต้องแสดงต่อสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคู่แข่งของบริษัทที่ได้รับผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้

  • การเสนอขายหุ้นด้วยวิธี IPO จะนำมาสู่การสร้างต้นทุนจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว ทั้งในเรื่องการปรับระบบการควบคุมภายในให้ดี (Check and Balance), งบการเงินที่จัดทำตามมาตรฐานบัญชี, ค่าใช้จ่ายสำหรับที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ, การสรรหาวาณิชธนกิจ (investment banking) เพื่อการรับคำแนะนำที่ถูกต้องอันมีส่วนโดยตรงในการลดอุปสรรคของกระบวนการ IPO เป็นต้น

  • จ้าของบริษัทอาจจะไม่ได้ถือหุ้นในปริมาณที่มากเหมือนเช่นเดิม อาจเป็นเพราะปัจจัยของราคาหุ้นจากเหตุที่ไม่สามารถขายหุ้นได้เป็นเวลาหลายปี

  •  ผู้เป็นเจ้าของบริษัทอาจสูญเสียอำนาจการควบคุมในฐานะเจ้าของบริษัท นั่นเป็นเพราะว่าเมื่อบริษัทจดทะเบียนเข้าสู่ตลาดฯ กลุ่มงานบริหารจะมีอำนาจสามารถปลดเจ้าของบริษัทออกได้

  • การบริหารงานของบริษัทจะไปอยู่ที่ คณะกรรมการบริหาร (Board of Directors) ซึ่งอาจจะแตกต่างจากกลุ่มผู้บริหารชุดเดิม


รูปภาพที่แสดง IPO


บริษัทที่ IPO ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง

คุณสมบัติที่บริษัทพึงมีตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์ได้กำหนดเอาไว้ เพื่อการระดมทุนโดยวิธี IPO อันประกอบได้ด้วย


 ●    มีสถานะทางธุรกิจเป็นบริษัทมหาชนจำกัด หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายไทยจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ


 ●    มีโครงสร้างทางธุรกิจที่มั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านฐานะการเงินและสภาพคล่องของบริษัท ซึ่งจะส่วนของผู้ถือหุ้นต้องมีอย่างน้อย 300 ล้านบาท และก่อนระดมเงินทุนด้วยวิธี IPO บริษัทต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้นห้ามน้อยกว่า 0

 

 ●    ผลการดำเนินงานของบริษัทต้องเข้าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยบริษัทสามารถเลือกใช้เกณฑ์ใดก็ได้


    -   เกณฑ์กำไรสุทธิ: ในเวลา 2 หรือ 3 ปีต่อเนื่องกันล่าสุดจะต้องมีกำไรสุทธิรวมมากกว่า 50 ล้านบาท และในปีล่าสุดก่อนจดยื่นคำขอต้องมีกำไรสุทธิมากกว่า 30 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทจะต้องมีกำไรสุทธิในงวดสะสมก่อนยื่นคำขอ


    -   เกณฑ์ Market Cap: มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) ในปีล่าสุดมากกว่า 7,500 ล้านบาท และในงวดสะสมก่อนยื่นคำขอ บริษัท “ต้องมีกำไร” ที่ก่อนจำนำไปหักต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้ (EBIT)


    -   ก่อนยื่นคำขอ บริษัทจะต้องมีผลการดำเนินงานมากกว่า 3 ปี โดยอยู่ภายใต้การจัดการของกรรมการและผู้บริหารส่วนใหญ่กลุ่มเดียวกันมาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 1 ปี 


 ●    มีสถานะของโครงสร้างการกระจายการถือหุ้นรายย่อย (หลังเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน) ที่ชัดเจน และมีอัตราส่วนการถือหุ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด


รูปภาพที่แสดง initial public offering


●    บริษัทที่ยื่นคำขอต้องได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ยกเว้นนิติบุคคลที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ ซึ่งดำเนินการเสนอขายผ่านผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์


 ●    การบริหารงานของบริษัทดังกล่าว จะต้องดำเนินงานภายใต้กรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอำนาจควบคุมตามคุณสมบัติที่ได้กำหนดไว้


 ●    ดูแลกิจการและควบคุมภายในโดยกรรมการอิสระที่มีองค์ประกอบและคุณสมบัติตามที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน และมีคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ซึ่งคอยกำกับดูแลภายใต้ขอบเขตการดำเนินงานตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด


 ●    ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด


 ●    งบการเงินของบริษัทจะต้องมีลักษณะ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนผู้สอบบัญชีของผู้ยื่นคำขอต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.


 ●    บริษัทต้องดำเนินการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ


 ●    บริษัทต้องจัดหาและแต่งตั้งนายทะเบียน ที่มาจากบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) หรือบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์เห็นชอบ


 ●    บริษัทจะมีสถานะการห้ามขายหุ้น (Silent Period) หากพบผู้เข้าข่าย Strategic Shareholders โดยมีผลถูกห้ามนำหุ้นของตนซึ่งมีจำนวนรวมกัน 55% ของทุนชำระแล้วหลัง IPO ออกขายภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่หุ้นเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าข่ายสามารถทยอยขายหุ้นได้ในอัตราส่วนไม่เกิน 25% ของหุ้นที่ถูกห้ามขาย เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 6 เดือน


 ●    บริษัทควรมีการดำเนินการ (Operation) ที่เข้มแข็ง เพื่อตอบรับกับศักยภาพในการเตรียมความพร้อมตนเองเข้าสู่การระดมทุนด้วยวิธี IPO


ขั้นตอนการเตรียมตัวสำหรับ IPO

ทว่ากว่าที่หุ้น IPO จะเปิดตัวให้ผู้ลงทุนได้เข้ามาจับจองกันนั้น เบื้องหลังการเตรียมการของบริษัทมีรายละเอียดที่ต้องให้ความสำคัญ กระบวนการและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมากมาย รวมถึงใช้ระยะเวลาไม่น้อยเลยทีเดียวขึ้นอยู่กับความร่วมมือ และรูปแบบของบริษัทนั้นๆ โดยจะอธิบายให้เข้าใจพอสังเขป ดังต่อไปนี้


บริษัทที่ต้องการระดมเงินทุนด้วยวิธี IPO จะต้องศึกษากฎระเบียบข้อมูลที่กำหนดไว้อย่างละเอียด และติดต่อหาบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งจะมีส่วยช่วยเป็นอย่างมากในการให้คำปรึกษา ชี้แนะ และตรวจสอบเอกสารที่จะต้องใช้ในการเพิ่มทุนด้วยวิธี IPO


บริษัทจะต้องแปรสภาพจากบริษัทจำกัดไปเป็นบริษัทมหาชนจำกัด พร้อมทั้งจัดเตรียมเอกสารสำหรับการขออนุมัติการเสนอขายหุ้นไอพีโอ (IPO) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. นอกจากนี้จะต้องดำเนินการกำหนดราคาขายหุ้นไอพีโอ (IPO) ระยะเวลาที่เปิดให้ทำการซื้อ รวมถึงสร้างการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ลงทุนที่สนใจรับทราบข้อมูล


ในขั้นตอนนี้จะเป็นช่วงที่บริษัทจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่งตั้งนายทะเบียนหลักทรัพย์ที่จะช่วยจัดทำทะเบียนผู้ถือหุ้นให้ถูกต้องและให้บริการนำหุ้นเข้าฝากในระบบไร้ใบหุ้น (Scripless) เมื่อการเตรียมความพร้อมทุกอย่างครบถ้วนสมบูรณ์แล้วก็จะยื่น Filing ขออนุญาติการสนอขายหุ้น IPO ต่อ ก.ล.ต. 


ผู้ที่เกี่ยวข้องใน IPO

ตามคู่มือ IPO Roadmap ที่จัดทำขึ้นโดย SET ได้อธิบายถึงประเด็นว่า IPO ต้องเกี่ยวข้องกับใครบ้าง โดยสามารถทำความเข้าใจได้ดังนี้



ผู้ที่เกี่ยวข้องในI PO

หน้าที่และการดูแล

1

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   (ตลท.)

เป็นเสมือนศูนย์กลางที่อำนวยการซื้อขายหลักทรัพย์   และบริการในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

2

กระทรวงพาณิชย์   (Ministry   of Commerce)

แปลงสภาพบริษัทเป็นบริษัทมหาชนจำกัด

3

ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาติ   Auditor)

ให้คำแนะนำและตรวจาอบงบการเงินให้เป็นไปตามมาตราฐานบัญชี

4

ผู้ตรวจสอบระบบการเงินภายใน   (Internal   Control Auditor)

ตรวจสอบ ประเมิน   เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการควบคุมภายใน

5

ที่ปรึกษากฎหมาย   (Lawyer)

ให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย   และดำเนินการจัดเตรียมเอกสาร ตลอดจนจัดการขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง

6

บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลักสำหรับธุรกรรมในตลาดหุ้น   (Valuer)

ประเมินมูลค่าทรัพย์สินททที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมในตลาดทุน

7

บริษัท   ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด TSD

จัดทำทะเบียนผู้ถือหุ้นให้ถูกต้อง   ให้บริการงานทะเบียนหลักทรัพย์

8

ผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์   (Underwriter)

ขายหลักทรัพย์ของบริษัทที่ต้องการระดมเงินทุนให้แก่ประชนชน   ถือเป็นการช่วยกระจายหุ้น IPO

9

ที่ปรึกษาทางการเงิน   (Financial   Advisor: FA)

เป็นที่ปรึกษาที่สามารถให้คำแนะนำตลอดการทำ   IPO และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

10

สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์   (SEC)

ตรวจสอบคุณสมบัติของบริษัท   อนุญาตการเสนอขาย IPO และกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน


ตั้งราคาของหุ้น IPO อย่างไร

หลายท่านอาจสงสัยว่าราคาหุ้น IPO ที่เสนอขายมานั้นตั้งราคามาจากปัจจัยใด? แล้วใครเป็นผู้รับผิดชอบในการตั้งราคาเหล่านี้?

 

กระบวนการตั้งราคาหุ้น IPO เป็นส่วนที่มีความสำคัญไม่แพ้กันเนื่องจากการกำหนดราคาดังกล่าวจะมีผลอย่างมากต่อจำนวนการเข้าซื้อหุ้นบริษัทของนักลงทุน (IPO Investors) และยังถือเป็นการวัดประสิทธิภาพในการตั้งราคาที่ดำเนินการโดยสถาบันวาณิชธนกิจ (Investment banking) หรือ ที่ปรึกษาทางการเงิน ว่ามีความเหมาะสมมากเพียงใด ส่วนใหญ่การเข้าประเมินมูลค่าหุ้นที่เหมาะสมสำหรับการเพิ่มทุนด้วยวิธีการ IPO จะตั้งในราคาที่ค่อนข้างต่ำ อันจะต้องสอดคล้องกับการสำรวจความต้องการซื้อหลักทรัพย์ (Book Building) ที่จำทำขึ้นมาโดยเฉพาะ


เช็คหุ้น IPO ได้ที่ไหน

สำหรับช่องทางการศึกษาหุ้น IPO คุณสามารถเข้าไปยังเว็บไซต์ SET ซึ่งได้อธิบายถึงหุ้นของบริษัทอย่างละเอียด รวมถึงคุณสามารถทราบได้ด้วยว่าจะมีบริษัทอะไรบ้างที่กำลังจะเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นอกจากนี้คำแนะนำสำหรับการใช้ประโยชน์จากข้อมูลในเว็บดังนี้

 

  ●   คุณจะต้องศึกษาดูว่า หุ้นของบริษัทที่คุณสนใจอยู่ใน “รายชื่อบริษัทที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคำขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Upcoming IPO)” หรือ เป็นหุ้นที่ “เปิดตัวหุ้นใหม่ IPO”


  ●   ในเว็บไซต์จะปรากฎราคาการซื้อขายหุ้น IPO และราคา PAR (P/V Price) เป็นประโยชน์สำหรับการวางแผนงบประมาณการในการลงทุน


  ●   เพื่อทราบข้อมูลเชิงลึกสามารถดาวนน์โหลดไฟล์ที่แนบไว้ หรือเข้าตรงไปยังลิงก์ของแต่ละบริษัทประกอบการตัดสินใจในการลงทุนของคุณ เช่น จุดประสงค์ในการระดมเงินทุน, ระยะเวลาในการเสนอขาย, มูลค่าการซื้อขาย เป็นต้น


รูปภาพที่แสดง ศึกษาหุ้น IPO คุณสามารถเข้าไปยังเว็บไซต์ SET


IPO มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจหรือตลาดหุ้นอย่างไร

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าการระดมเงินทุนด้วยวิธี IPO มีจุดประสงค์โดยตรงจากบริษัทที่ต้องการเม็ดเงินมาพัฒนาหรือบริหารจัดการธุรกิจให้เติบโตกว่าเดิม ซึ่งในส่วนนี้เองอาจจะส่งผลกระทบทั้งด้านดีและเสียต่อเศรษฐกิจในประเทศ เช่น อุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างมากในประเทศ หากมีการสนับสนุนด้วยเงินทุนเพื่อการพัฒนาธุรกิจ นอกจากจะสร้างผลกำไรให้กับประเทศแล้วยังตอบแทนด้วยผลกำไรให้แก่นักลงทุนอย่างเป็นที่น่าพึงพอใจอีกด้วย ในทางกลับกันหากบริษัทไม่มีการระดมทุนด้วย IPO อาจจะพบเจอกับอุปสรรคและการดำเนินงานที่อยู่นอกเหนือการควบคุม

นักลงทุนจะจองหุ้น IPO อย่างไร

การจ้องหุ้น IPO เป็นที่ทราบกันดีในวงการเทรดดิ้งว่าจะมีผู้ลงทุนจำนวนไม่กี่รายเท่านั้นที่มีโอกาสจะได้หุ้นที่จองเอาไว้ ผนวกกับบางบริษัทที่กำลังจะระดมทุนด้วยวิธี IPO ต้องผ่านขั้นตอนการเตรียมตัวและการประเมินที่รัดกุม โดยแนวทางการจองหุ้น IPO แบ่งออกเป็น 2 วิธีดังนี้


◆  วิธีที่ 1 ผู้ลงทุนจองซื้อหุ้น IPO ก่อนเข้าสู่ตลาด (Primary Market)

ในการซื้อขายหุ้นส่วนนี้จะเริ่มจากบริษัทมีการเสนอขายหุ้นเพื่อการระดมเงินทุน ซึ่งดำเนินการภายใต้ข้อกำหนดของ ก.ล.ต. โดยประกาศผ่านทางเว็บไซต์ SET หรือ เว็บไซต์ของบริษัท รวมถึงผ่านโบรกเกอร์ต่างๆ โดยผู้ที่มีความสนใจอยากลงทุนซื้อหุ้นดังกล่าวก็สามารถจองซื้อหุ้นภายในระยะเวลาการซื้อขายที่ได้กำหนดเอาไว้ ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่ราคาการซื้อขายที่ถูกกำหนดเอาไว้ส่วนใหญ่จะค่อนข้างต่ำและต่ำกว่าราคาหุ้นตัวเดียวกันเมื่อเข้าสู่ตลาดแล้ว การเก็งกำไรของนักลงทุนในลักษณะนี้จึงมักได้รับผลตอบแทนที่ค่อนข้างพึงพอใจ


◆  วิธีที่ 2 การซื้อหุ้น IPO หลังเข้าสู่ตลาด (Secondary Market)

ตลาดการซื้อขายหุ้น IPO ลักษณะนี้จะเกิดขึ้นหลังจากบริษัทดังกล่าวจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งหากสงสัยว่าหุ้น IPO ที่ปล่อยให้ซื้อในตลาดหลักทรัพย์มาจากไหนกันล่ะ? คำตอบก็คืออาจจะมาจาก ผู้ลงทุนในครั้งแรก (IPO Investors) ที่นำหุ้นของตนเองที่มีต่อบริษัทมาขายในตลาดหลักทรัพย์นี้ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นระหว่างผู้ซื้อผู้ขายเพียงเท่านั้น โดยนักลงทุนที่เคยพลาดโอกาสในการซื้อครั้งแรกสามารถใช้ช่องทางนี้ในการซื้อหุ้น IPO  อย่างไรก็ตามความผันผวนของราคาหุ้นในช่วงแรกค่อนข้างเห็นได้อย่างชัดเจน และบางครั้งราคาหุ้นในตลาดอาจสูงกว่าตอนจองหลายเท่าตัว ดังนั้นถ้าคุณเป็นหนึ่งคนที่อาจลงทุนในหุ้น IPO จะต้องศึกษา ทำความเข้าใจในบริบทของบริษัทเป็นอย่างสำคัญ

- การดำเนินงานแบบเดิม

ผู้ก่อตั้งบริษัท (Founder) จะเป็นผู้ถือหุ้น 100% โดยมีรายละเอียดการลงทุนในส่วนผู้ถือหุ้น ดังนี้



          จำนวน                    

  จำนวนหุ้นของผู้ก่อตั้ง (Founder)                                             

    1,800,000 หุ้น                    

  ราคาหุ้น (Par Value)                    

    2 บาทต่อหุ้น                      

  เงินลงทุนรวมที่ผู้ก่อตั้งนำมาลงทุนในบริษัท                                   

    3,600,000 บาท         


- เมื่อบริษัทมีความประสงค์จะเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนด้วยวิธี IPO 

บริษัทจะออกหุ้นเพิ่มทุนจำนวนหนึ่ง มาเสนอขายให้กับผู้ลงทุนใน IPO (IPO Investors) หลังจากที่การขายเสร็จสิ้น ผู้ก่อตั้งจะไม่ได้เป็นเจ้าของบริษัทเป็นผู้เดียวอีกต่อไป ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของผู้ถือหุ้นตามตัวเลยดังนี้



   ผู้ลงทุน   (IPO Investors)

 จำนวนหุ้น (ระดมทุนเพิ่มเข้ามา)

  800,00 หุ้น

 ราคาหุ้น (Par Value)

  2   บาทต่อหุ้น

 ราคา IPO

  15 บาทต่อหุ้น

 จากการระดมเงินทุนบริษัทได้มาทั้งหมด   (Equity Funding) 

  12,000,000 บาท (800,000 x 15)

 ผู้ก่อตั้งมีมูลค่าหุ้นทั้งหมดเท่ากับ

  27,000,000 บาท (15 x 1,800,000) 


  ●   ราคาหุ้น (Par Value) เหมือนเดิมเพราะเป็นราคาหุ้นเมื่อเริ่มต้นทำธุรกิจหรือจะให้เข้าใจง่ายๆ คือ เป็นราคาที่บริษัทกำหนดมาตอนที่จะจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท


  ●   แต่สำหรับราคาหุ้นที่ผู้ลงทุนซื้อ (IPO Price) จะต้องสูงกว่าราคาหุ้น P/V เพราะธุรกิจได้ดำเนินมาด้วยระยะเวลาพอสมควร อันประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจมาแล้วระดับหนึ่ง โดยทราบได้ถึงความมั่นคงและความเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นราคาที่ผู้ลงทุนจะต้องซื้อย่อมสูงกว่าราคา P/V


  ●   จำนวนหุ้นรวมทั้งบริษัทจะอยู่ที่ 2,800,000 หุ้น


- การเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนด้วยวิธี IPO เสร็จสิ้น 

  ●   ผู้ถือหุ้นจะเป็นเจ้าของบริษัทอยู่ 69.23% ในขณะที่เมื่อรวมผู้ลงทุน IPO จะถือว่าเป็นเจ้าของบริษัทอยู่ 30.77%


  ●   หุ้นของบริษัทจะนำมาจดทะเบียนที่ตลาดหลักทรัพย์

 

  ●   ผู้ก่อตั้ง (Founder) และ ผู้ลงทุน (IPO Investors) สามารถที่จะนำหุ้นของบริษัทมาขายหรือซื้อเพิ่มในตลาดหลักทรัพย์นี้ได้ แน่นอนว่า ผู้ลงทุน (IPO Investors) รายใหม่หรือบุคคลทั่วไปก็สามารถเข้ามาซื้อหุ้นของบริษัทดังกล่าวผ่านตลาดหลักทรัพย์ได้เช่นกัน โดยลักษณะการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้นเรียกตลาดรอง (Secondary Market) ทางบริษัทจะไม่ได้เงินทุนเพิ่มเติมแต่อย่างใด จะเป็นการเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นระหว่างผู้ซื้อผู้ขายเพียงเท่านั้น 

สรุป

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับความน่าสนใจของหุ้น IPO เราได้ทราบกันไปแล้วนะครับว่า หุ้น IPO คืออะไร ดูหุ้น IPO ได้ที่ไหน จนถึงจะจองหุ้น ipo อย่างไร เอาเข้าจริงแล้วบางคนอาจจะรู้สึกว่าตัวเองไม่เก่งเรื่องหุ้น หรือคิดว่าตัวเองไม่เหมาะกับตลาดหุ้นแบบนี้ ส่วนตัวผมคิดว่าการลงทุนในหุ้นไม่มีคำว่าเก่งหรือไม่เก่งนะครับเพราะถ้าเราเทรดได้ เราได้กำไร คนอื่นก็อาจมองว่าเราเก่ง แน่นอนครับว่าเหตุการณ์จะตรงกันข้ามทันทีเมื่อเราพลาดหรือขาดทุน ดังนั้นการลงทุนหุ้น IPO ทุกคนสามารถเทรดได้ภายใต้ความรู้และความเข้าใจ ยิ่งศึกษามาก ยิ่งมีโอกาสสูงที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุน


*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
วิธีเล่นหุ้นสำหรับมือใหม่แบบละเอียดในปี 2023‘อยากเล่นหุ้นต้องทํายังไง’ ‘เริ่มเล่นหุ้นแบบไม่รู้อะไรเลย ต้องทำยังไง’ คำถามแบบนี้เป็นคำถามที่เจอบ่อยมากสำหรับผู้ที่มีความสนใจในการเข้าสู่โลกการลงทุน ซึ่งวันนี้เราจะมีวิธีเล่นหุ้นสำหรับมือใหม่แบบละเอียดมาฝากกัน
ผู้เขียน  MitradeInsights
‘อยากเล่นหุ้นต้องทํายังไง’ ‘เริ่มเล่นหุ้นแบบไม่รู้อะไรเลย ต้องทำยังไง’ คำถามแบบนี้เป็นคำถามที่เจอบ่อยมากสำหรับผู้ที่มีความสนใจในการเข้าสู่โลกการลงทุน ซึ่งวันนี้เราจะมีวิธีเล่นหุ้นสำหรับมือใหม่แบบละเอียดมาฝากกัน
placeholder
ซื้อหุ้นต่างประเทศยังไง? แนะนำ 3 วิธีในการลงทุนหุ้นต่างประเทศ 2023พื้นที่การลงทุนอีกแห่งที่ทำรายได้ให้อย่างมหาศาลที่เราควรหันมาให้ความสนใจ นั่นคือ การเล่นหุ้นต่างประเทศ เพียงแค่คุณศึกษา ใส่ใจ และมีข้อมูลเพียงพอ การซื้อหุ้นในต่างประเทศ และการลงทุนหุ้นต่างประเทศ จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
ผู้เขียน  MitradeInsights
พื้นที่การลงทุนอีกแห่งที่ทำรายได้ให้อย่างมหาศาลที่เราควรหันมาให้ความสนใจ นั่นคือ การเล่นหุ้นต่างประเทศ เพียงแค่คุณศึกษา ใส่ใจ และมีข้อมูลเพียงพอ การซื้อหุ้นในต่างประเทศ และการลงทุนหุ้นต่างประเทศ จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
placeholder
เทรดหุ้นแอพไหนดี?แอปเทรดหุ้นที่ยอดนิยมสำหรับปี 2566 จะเลือกแอพเทรดหุ้นที่เหมาะกับเราอย่างไร และจะเลือกเทรดหุ้นกับแอพไหนดี ในเมื่อปัจจุบันก็มีแอพเทรดหุ้นให้เลือกอยู่มากมาย แถมแต่ละแอพยังมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน คราวนี้เราจึงได้รวบรวม 10 แอปเทรดหุ้นที่ยอดนิยมสำหรับปี 2566 มาเล่าถึงฟังก์ชั่นการใช้งาน รวมถึงจุดเด่นและจุดด้อยของแต่ละแอพ
ผู้เขียน  MitradeInsights
จะเลือกแอพเทรดหุ้นที่เหมาะกับเราอย่างไร และจะเลือกเทรดหุ้นกับแอพไหนดี ในเมื่อปัจจุบันก็มีแอพเทรดหุ้นให้เลือกอยู่มากมาย แถมแต่ละแอพยังมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน คราวนี้เราจึงได้รวบรวม 10 แอปเทรดหุ้นที่ยอดนิยมสำหรับปี 2566 มาเล่าถึงฟังก์ชั่นการใช้งาน รวมถึงจุดเด่นและจุดด้อยของแต่ละแอพ
placeholder
รวยด้วยการเล่นหุ้น VI : ทางรุ่ง หรือ ทางร่วง ผมจึงอยากแบ่งปัน วิถีการเล่นหุ้น VI สไตล์ของตัวเอง ว่ามันเหมือนหรือต่างกับนักลงทุนท่านอื่นอย่างไร พร้อมการแนะนำหุ้น VI คืออะไร, หุ้น VI ตัวไหนดี-หลักการเลือกหุ้น VI ด้วย เชิญติดตามไปพร้อม ๆ กันครับ
ผู้เขียน  MitradeInsights
ผมจึงอยากแบ่งปัน วิถีการเล่นหุ้น VI สไตล์ของตัวเอง ว่ามันเหมือนหรือต่างกับนักลงทุนท่านอื่นอย่างไร พร้อมการแนะนำหุ้น VI คืออะไร, หุ้น VI ตัวไหนดี-หลักการเลือกหุ้น VI ด้วย เชิญติดตามไปพร้อม ๆ กันครับ
placeholder
หุ้นบลูชิพ[blue chip]คืออะไร แนะนำหุ้นบลูชิพ[blue chip]ในไทยและต่างประเทศแวดวงตลาดหุ้น คือการลงทุนที่มีความเคลื่อนไหวอยู่เสมอ แม้ว่าโลกจะมีสถานการณ์เปลี่ยนไปในรูปแบบใด ตลาดหุ้นยังคงยืนยันได้อย่างแข็งแกร่งในทุกสถานการณ์ ในภาวะการณ์ที่เกิดความเปลี่ยนแปลง ก็จะมีหุ้นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่โดดเด่นขึ้นมา ซึ่งในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ เรื่องราวของ หุ้นบลูชิพ[blue chip]ถูกหยิบยกขึ้นมาว่าเป็นกลุ่มหุ้นที่น่าสนใจในการลงทุน สำหรับมือใหม่หัดลงทุน คงอยากทำความรู้จักหุ้นและอยากรวยไปด้วยกันกับนักลงุทนผู้มากประสบการณ์พร้อมกันกับ หุ้นบลูชิพ[blue chip]การที่เรามีข้อมูล หุ้นบลูชิพ[blue chip]อยู่ในมือ คือความได้เปรียบที่จะช่วยกระดับเราให้เป็นนักลงทุนที่มีองค์ความรู้มากกว่านักลงทุนทั่วไป ไปทำความรู้จักกับหุ้นทำเงินในภาวะวิกฤตอย่าง หุ้นบลูชิพ[blue chip]ทั้งในตลาดหุ้นไทยและต่างประเทศกันครับ
ผู้เขียน  MitradeInsights
แวดวงตลาดหุ้น คือการลงทุนที่มีความเคลื่อนไหวอยู่เสมอ แม้ว่าโลกจะมีสถานการณ์เปลี่ยนไปในรูปแบบใด ตลาดหุ้นยังคงยืนยันได้อย่างแข็งแกร่งในทุกสถานการณ์ ในภาวะการณ์ที่เกิดความเปลี่ยนแปลง ก็จะมีหุ้นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่โดดเด่นขึ้นมา ซึ่งในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ เรื่องราวของ หุ้นบลูชิพ[blue chip]ถูกหยิบยกขึ้นมาว่าเป็นกลุ่มหุ้นที่น่าสนใจในการลงทุน สำหรับมือใหม่หัดลงทุน คงอยากทำความรู้จักหุ้นและอยากรวยไปด้วยกันกับนักลงุทนผู้มากประสบการณ์พร้อมกันกับ หุ้นบลูชิพ[blue chip]การที่เรามีข้อมูล หุ้นบลูชิพ[blue chip]อยู่ในมือ คือความได้เปรียบที่จะช่วยกระดับเราให้เป็นนักลงทุนที่มีองค์ความรู้มากกว่านักลงทุนทั่วไป ไปทำความรู้จักกับหุ้นทำเงินในภาวะวิกฤตอย่าง หุ้นบลูชิพ[blue chip]ทั้งในตลาดหุ้นไทยและต่างประเทศกันครับ