Link Coin คืออะไร?การวิเคราะห์เหรียญ Link ในปี 2023

6 นาที
อัพเดทครั้งล่าสุด 23 ส.ค. 2566 09:40 น.
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

LINK Coin คืออะไรคงเป็นคำถามหนึ่งที่ใครหลายคนอยากทราบ เมื่อปัจจุบันมีคำกล่าวที่ว่า “Data is the new natural resource” และ Chainlink ก็เป็นตัวกลางเชื่อมต่อข้อมูลมหาศาลบนโลกซึ่งนับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนและความต้องการใช้งาน 


คราวนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ LINK Coin (Chainlink) คืออะไร น่าลงทุนไหมในปี 2023 และจะลงทุนซื้อเหรียญ LINK ได้ที่ไหนบ้าง ตามมาดูกันได้เลย!

LINK Coin คืออะไร?

LINK Coin คือ สกุลเงินหลัก (Native Token) ที่ใช้อยู่บนเครือข่าย Chainlink ซึ่งเป็นบล็อกเชนเลเยอร์เสมือนที่วางอยู่บนเครือข่าย Ethereum โดย LINK Coin เพื่อใช้เป็นตัวกลางในการทำธุรกรรมและเป็นรางวัลสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ บนเครือข่าย Chainlink

 

อันดับเหรียญ Link coin ตามมูลค่าตลาด


LINK Coin ถูกสร้างขึ้นมาทั้งหมด 1,000,000,000 LINK และถูกนำมาหมุนเวียนในระบบทั้งหมด 517,099,970 LINK ปัจจุบัน LINK Coin ราคา $8.57 (ณ 19 เมษายน 2023) มีมูลค่าตามราคาตลาดที่ $4,433,958,362 นับเป็นเหรียญที่มีมูลค่าตามราคาตลาดสูงเป็นอันดับ 19 บน Coinmarketcap 


กว่าจะมาเป็นเหรียญ LINK Coin

ย้อนไปในปี 2014 Sergey Nazarov อดีตร่วมผู้ก่อตั้ง ExistLocal และ CryptaMail ได้ร่วมกับ Steve Ellis สร้าง SmartContract.com แพลตฟอร์มที่สามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอก เช่น ข้อมูลการชำระเงิน ไปสู่การทำงานของบล็อกเชนได้ โดยเฉพาะข้อมูลการชำระเงินภายนอกเชน ซึ่ง SmartContract.com นี้เองที่นับเป็นโปรเจกต์เริ่มต้นของ Chianlink 


เริ่มแรก SmartContract.com ยังมีการทำงานแบบ Centralized และได้มีการพัฒนาต่อมาให้เป็น Decentalized Oracle บนบล็อกเชน ที่อนุญาตให้ใครก็ได้สามารถดึงข้อมูลจากภายนอกไปใช้บน Smart Contract และกลายมาเป็น Chainlink ในปี 2017 โดยในปีนั้น Chainlink ได้นำ LINK ออกมา ICO จำนวน 1 ร้อยล้านเหรียญ และรับเงินระดมทุนกลับไปพัฒนาโปรเจกต์จำนวน $32 ล้าน

เครือข่าย Chainlink คืออะไร

Chainlink เป็นเครือข่าย Oracle อยู่บน Ethereum และทำงานประมวลผลแบบกระจายศูนย์ ดังนั้น Chainlink จึงไม่ใช่บล็อก แต่สามารถสร้างฉันทามติให้กับชุมชนได้จากเครือข่ายโหนด Oracle นับร้อย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำส่งกลับมา


จากเอกสาร White Paper ของ Chainlink Lab บล็อกเชนของ Chainlink ถูกสร้างขึ้นด้วยจุดมุ่งหมายที่จะเพิ่มศักยภาพการใช้งานของ Smart Contract ด้วยการเพิ่มเทคโนโลยีใหม่อย่าง ‘การเชื่อมต่อ (Connectivity)’ เพื่อให้ Smart Contract สามารถมีปฎิสัมพันธ์กับข้อมูลจากโลกภายนอกได้แบบเรียลไทม์ด้วยฟีเจอร์สำคัญอย่างการฟีดข้อมูลและ APIs 


ด้วยคุณสมบัติสำคัญของการเชื่อมต่อข้อมูลนี้ทำให้ Chainlink ทำหน้าที่เป็น Data Oracle แบบ Decentralized ที่เป็นตัวกลางระหว่างข้อมูลนอกเชน (Off Chain) และในบล็อกเชน (On Chain) โดยที่ผู้ใช้งานสามารถดึงข้อมูลจากภายนอกแบบ APIs เพื่อไปใช้กำหนดเงื่อนไขบน Smart Contract ที่เป็นสัญญาทางธุรกิจได้แบบเรียลไทม์ เช่น Smart Contract ที่อ้างอิงข้อมูลตลาดหลักทรัพย์จาก NYSE, Smart Contract ที่อ้างอิงข้อมูลเศรษฐกิจจาก Bloomberg, หรือ Smart Contract ที่อ้างอิงข้อมูลสภาพอากาศจาก GPS ฯลฯ


โครงสร้างพื้นฐานของ Chainlink


เดิม Oracle ที่ใช้งานแบบ Centralized มีความเสี่ยงที่จะถูกผูกขาดโดยผู้ให้บริการ แต่สำหรับ Chainlink ที่ทำหน้าที่เป็น Decentralized Oracle บนบล็อกเชนสาธารณะนั้นสามารถแก้ไขปัญนี้นี้ได้ด้วยการกระจายอำนาจให้โหนดต่าง ๆ บนเครือข่ายช่วยดึงข้อมูลจากภายนอก (Off Chain) เข้ามาเพื่อทำการตรวจสอบความถูกต้องภายในเชน (On Chain) แล้วจึงยืนยันข้อมูลเพื่อนำไปใช้ต่อได้อย่างน่าเชื่อถือ ทำให้โครงสร้างการทำงานของ Chainlink นั้นมีอยู่ 2 ส่วน คือ โครงสร้างสถาปัตยกรรม On Chain และ โครงสร้างสถาปัตยกรรม Off Chain


  ★  โครงสร้างสถาปัตยกรรม On Chain

เป็นการทำงานบน Chainlink คือเมื่อ Node บน Chainlink ได้รับคำสั่งเรียกข้อมูลจากผู้ใช้ก็จะสร้างสัญญาขึ้นมา 3 รูปแบบ คือ


  • Reputation Contract ทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติผู้ให้บริการดึงข้อมูล Oracle ว่าแต่ละโหนดที่มีอยู่นั้นมีความน่าเชื่อถือแค่ไหน และตัดโหนดที่ไม่น่าเชื่อถือออกไป

  • Order-Matching Contract ทำหน้าที่สร้างข้อตกลงและตรวจสอบข้อเสนอราคาของผู้ให้บริการ Oracle พร้อมประเมินผู้ให้บริการตามที่ Reputation Contract ส่งมา แล้วทำการจับคู่ผู้ให้บริการข้อมูลที่จะให้ช่วยดึงข้อมูลในท้ายที่สุด

  • Aggregating Contract จะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดจากผู้ให้บริการข้อมูล แล้วประมวลผลข้อมูลเพื่อส่งกลับไปให้กับผู้ใช้ที่ส่งคำสั่งเรียกข้อมูล และในอีกด้านหนึ่งก็รายงานประวัติของผู้ให้บริการไปที่ Reputation Contract 


จากกระบวนการนี้ ผู้ใช้ Chainlink ที่รัน Node เพื่อเข้ามาเป็นผู้ให้บริการข้อมูลจะมีการทำงานไปพร้อมกัน นั่นคือ เมื่อ Chainlink ได้รับคำสั่งเรียกข้อมูล Node ที่อยู่บนเครือข่ายจะประเมินว่าจะรับข้อเสนอนี้หรือไม่ ซึ่งหากรับก็ต้องวาง LINK ออกมาเป็นเงินวางประกันในกรณีที่ไม่สามารถหาข้อมูลมาให้ตามที่ตกลงไว้ได้ LINK จำนวนนี้จะถูกริบไป


หลังจากนั้น Node ที่รับข้อเสนอมาจะส่งข้อมูลแบบ API ไปประมวลผล Off Chain เพื่อดึงข้อมูลภายนอกกลับเข้ามาส่งให้  Aggregating Contract เพื่อประเมินความถูกต้องและเก็บเป็นประวัติ ซึ่งหากข้อมูลที่หามาได้นั้นได้รับการตอบรับ Node ผู้หาข้อมูลมาก็จะได้เหรียญ LINK เป็นรางวัล


  ★  โครงสร้างสถาปัตยกรรม Off Chain

โครงสร้าง Off Chain ของ Chainlink เกิดขึ้นจากเครือข่าย Oracle Nodes ที่สนับสนุนการทำงานของ Smart Contract ของเครือข่ายชั้นนำและเชื่อมต่ออยู่บนเครือข่าย Ethereum ซึ่ง Node เหล่านี้สามารถตอบรับคำขอดึงข้อมูลได้อย่างอิสระ แต่ละ Node ยังสามารถเพิ่มการติดตั้งซอฟต์แวร์เพิ่มเติมเพื่อรองรับการค้นหาข้อมูลจาก Off Chain ซึ่งการทำงานของ Node เหล่านี้เองที่ทำให้ Chainlink มีความเฉพาะตัวที่แต่ละโหนดของเครือข่ายสามารถทำงานได้แบบทั้ง On Chain และ Off Chain 

จุดเด่นของโครงข่าย LINK ที่ไม่ควรพลาด

Chainlink เป็นเครือข่ายบล็อกเชนเครือข่ายแรกที่ทำการเชื่อมต่อข้อมูลจาก off Chain ให้นำไปใช้กับ Smart Contract ได้ และได้รับความเชื่อถือของข้อมูลจากผู้ใช้งานว่ามีความแม่นยำสูง และเป็นช่องทางที่ผู้ให้บริการข้อมูลสามารถเสนอขายข้อมูลได้โดยตรงผ่านเครือข่ายบล็อกเชนได้อีกด้วย


Chainlink มี Node ผู้ให้บริการที่ช่วยฟีดข้อมูลขนาดใหญ่เข้าสู่เครือข่ายได้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะเมื่อปัจจุบัน Chainlink ยังเป็นผู้ให้บริการดึงข้อมูลไปใช้กับ DeFi เจ้าดัง ๆ เช่น Synthetix, Aave หรือ Compound ซึ่งความเร็วและความถูกต้องของข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการคำนวณผลตอบแทนแบบเรียลไทม์


นอกจากนี้ Chainlink ยังมีพันธมิตรยักษ์ใหญ่อย่าง Swift, GoogleCloud, AWS, Swisscom และ AP ที่ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูลและมีการพัฒนาโปรเจกต์รวมแล้วกว่า 755 โปรเจกต์ ทั้งด้านการเงิน DeFi NFT ฯลฯ

Chainlink ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

Chainlink เติบโตจากการรวบรวมข้อมูลด้านราคาให้กับ DeFi เจ้าดังอย่าง Aave และอีกหลาย ๆ เจ้าตามมา ดูแลข้อมูลของสินทรัพย์กว่า 1 พันล้านดอลลาร์ ในกว่า 1,000 โปรเจกต์ด้วยเครือข่าย Oracle หลายร้อยตัว จนได้รับความเชื่อถือจากบริษัทชั้นนำของโลก เช่น AccuWeather, FedEx, FlightStats และนำ Chainlink เข้ามาช่วยในด้านการยืนยันความถูกต้องของข้อมูล โดยเฉพาะการได้เข้ามาเป็นพันธมิตรกับ Google ที่มองว่า Chainlink สามารถเข้ามาปลดล็อกศักยภาพของ Smart Contract ให้ตอบสนองกับโลกภายนอกได้ จนถูกนำมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจที่หลากหลาย เช่น


Chainlink ใช้ทำอะไรได้บ้าง


  • การเชื่อมต่อ Smart Contract กับข้อมูลในโลกจริง เช่น ข้อมูลด้านสถานการณ์ การชำระเงิน ที่ไม่สามารถแฮ็กได้และมีความแม่นยำสูง เช่น CACHE ใช้ Chainlink เพื่อติดตามราคาทองคำที่หนุนหลัง Token ของตัวเองที่อ้างอิงกับราคาทองคำได้แบบเรียลไทม์


  • การเชื่อมต่อข้อมูลของแอปพลิเคชัน DeFi Chainlink ช่วยเสริมศักยภาพของระบบนิเวศน์ DeFi ด้วยเครือข่าย Oracle ที่ส่งข้อมูลที่แม่นยำ เป็นข้อมูลที่บิดเบือนได้ยาก และมีความปลอดภัยสูง เช่น Synthetix, AAVE และ Tader Joe


  • การใช้ในองค์กรธุรกิจ Chainlink นับเป็น Oracle แบบ Decentralized เพียงเจ้าเดียวที่น่าเชื่อถือสูงเพียงพอที่จะนำมาใช้ในองค์กรธุรกิจ เพื่อเชื่อมโยงโลกภายนอกเข้ากับเครือข่ายบล็อกเชน และบริษัทที่ใช้งานอยู่เช่น Swisscom หรือ AccuWeather ที่เข้ามาเป็นโหนดส่งข้อมูลให้กับเครือข่าย 


  • การใช้ในธุรกิจประกัน เป็นกลุ่มธุรกิจที่ต้องการใช้ข้อมูลเพื่อการประมวลผลสูง ไม่ว่าจะเป็นการประกันพืชผลการเกษตร หรือ การประกันสุขภาพ ก็มีการนำ Chainlink เข้ามาใช้เชื่อมต่อข้อมูล เช่น acre Africa, Etherisc หรือ Arbol


  • เกมและ NFT ด้วยฟีเจอร์เฉพาะตัวของ Chainlink VRF ซึ่งเป็นฟีเจอร์สำหรับใช้ในการสุ่ม ทำให้ถูกนำไปใช้สุ่มสถานการณ์เพื่อทดสอบเกม หรือ สุ่มตรวจสอบโดยการเข้ารหัสบนเครือข่าย เช่น Aavegotchi 

ข้อเสียและความเสี่ยงของ Chainlink

เนื่องจากการทำงานของ Chainlink อิงอยู่บนการทำงานบนเครือข่าย Ethereum ทำให้หาก Ethereum มีปัญหาหรือมีการเปลี่ยนแปลง ก็สามารถกระทบกับการทำงานของ Chainlink ได้ด้วย


นอกจากนี้โหนดเครือข่าย Oracle บน Chainlink ยังมีอยู่อย่างจำกัด นั่นคือราว ๆ 332 โหนด ซึ่งถือว่าค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับ Ethereum ที่มีเครือข่ายอยู่ราว 1,000 โหนด ทำให้อาจเกิดความล่าช้าเมื่อมีการใช้งานจำนวนมากขึ้นมาได้ ซึ่งสเกลการขยายโหนด Oracle บน Chainlink ก็สามารถทำได้และมีการเพิ่มขึ้นตลอดอยู่แล้ว จึงคาดว่าตัวเลขนี้จะสามารถเพิ่มขึ้นได้อีกเพื่อรองรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

เหรียญ LINK Coin กับการใช้งาน

ถึงตรงนี้เราก็คงได้รู้จักเหรียญ LINK Coin กันไปบ้างแล้ว คราวนี้ลองมาดูการใช้งานเหรียญ LINK Coin กันบ้าง 


LINK Coin เป็นเหรียญที่ใช้สำหรับกิจกรรมที่ดำเนินอยู่บน Chainlink การใช้งานเหรียญ LINK Coin ที่เป็นพื้นฐานแรกก็คงหนีไม่พ้นการนำไปใช้สำหรับการจ่ายค่าธรรมเนียมในการเรียกข้อมูล Oracle บน Chainlink เช่น การใช้งาน Smart Contrat บน Ethereum เมื่อต้องการเชื่อมต่อข้อมูลผ่านโหนด Chainlink ก็จำเป็นต้องใช้เหรียญ LINK Coin สำหรับการทำธุรกรรม ส่วนราคานั้นขึ้นอยู่กับการเสนอของ Node Operator ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของธุรกรรมในช่วงนั้น ๆ 


นอกจากนี้ Chainlink ยังมีโปรเจกต์ร่วมกับ Google ในการออกแบบฟีเจอร์การ Staking ซึ่งได้ถูกปล่อยออกมาแล้วในวันที่ 6 ธันวา 2022 และเริ่มใช้ในวันที่ 8 ธันวาคม 2022 โดย 1 Address ผู้ใช้งาน Chainlink สามารถสเตคเหรียญได้ไม่เกิน 7,000 LINK ต่อหนึ่ง Pool และจำกัดการ Stake ในระบบไว้ที่ 25 ล้าน LINK หรือคิดเป็น 5% ของเหรียญที่ออกมาหมุนเวียน และคิดเป็น 2.5% ของเหรียญทั้งหมดที่มีในระบบ และสำหรับการสเตคของผู้ใช้ในชุมชนจะได้รับผลตอบแทนราว 4.75% ต่อปี 

การวิเคราะห์ LINK Coin ในปี 2023


ราคาเหรียญ LINK แบบเรียลไทม์
   

ปัจจุบัน LINK Coin มีมูลค่าตามราคาตลาดที่ $4,135,630,092 เคยทำราคาสูงสุดไว้ที่ $52.88 และราคาต่ำสุดที่ $0.1263 ซึ่งหากมองในทางเทคนิคแล้วราคาปัจจุบันยังแกว่งตัวเหนือค่าเฉลี่ย 200 วัน ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีของการรักษาโมเมนตัมของการ “ซื้อ” ในระยะยาว และได้กลับมายืนเหนือค่าเฉลี่ย 50 วัน ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับการเข้าลงทุนในระยะกลางด้วยเช่นกัน และเพิ่งเกิดสัญญาณ Golden Cross ขึ้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับการเข้าซื้อ


สำหรับ LINK Coin ราคาในปัจจุบันได้ลงมาแกว่งตัวในกรอบ $5.76 – $9.40 นับตั้งแต่เดือนพฤษภา 2022 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงเวลากว่า 1 ปีที่ราคาพักตัวเพื่อรอสัญญาณเลือกทิศทางต่อไป ซึ่งมีกรอบล่างให้ราคาปรับลงได้อีกจำกัด 


สำหรับ Cryptonewsz มองว่าในปี 2023 LINK Coin จะมีราคาเฉลี่ยที่ $11.17 โดยมีช่วงราคาที่ $6.51 - $15.82, Ambcrypto มองราคาสูงสุดของ LINK Coin ในปีนี้ไว้ที่ $14.48 และ  Priceprediction มองราคาเฉลี่ยของปีนี้ที่ $10.00

จะลงทุนซื้อเหรียญ LINK Coin ได้ที่ไหน?

หากนับว่าฤดูหนาวของคริปโตได้ผ่านพ้นไปแล้ว การเริ่มต้นลงทุนอีกครั้งก็เป็นเรื่องที่ต้องเตรียมตัว สำหรับใครที่อยากเป็นลงทุนกับเจ้าเหรียญนี้และมองหาช่องทางการซื้อเหรียญ LINK Coin สำหรับทำกำไรก็สามารถเลือกได้ 2 วิธี คือ


1. ซื้อเหรียญ LINK Coin บน Exchange 

วิธีนี้จะเป็นการนำสกุลเงินที่เรามีไปแลกเหรียญ LINK Coin บน Exchange ต่าง ๆ เช่น Binance, Huobi Global, Coinbase Pro, Gate.io, Kraken มาเก็บรักษาไว้ในกระเป๋าเงินดิจิทัลที่ Exchange สร้างให้ ซึ่งจะทำให้นักลงทุนด้วยวิธีนี้สามารถเป็นเจ้าของเหรียญได้จริง ๆ และยังสามารถโอนเหรียญออกไปทำกิจกรรมอื่น ๆ เช่น เก็บไว้ในกระเป๋าเงินดิจิทัลส่วนตัวเพื่อความปลอดภัย หรือ โอนออกไปสเตคเพื่อสร้างผลตอบแทนต่อก็สามารถทำได้


2. เทรดเหรียญ LINK Coin กับ โบรกเกอร์ CFD 

วิธีนี้เป็นการเทรดสัญญาซื้อขายส่วนต่าง (Contract for Differences – CFD) ทำให้นักลงทุนจะไม่ได้เป็นเจ้าของเหรียญจริงๆ แต่สามารถทำกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคาเหรียญได้ โดยสามารถทำการซื้อขายได้อย่างคล่องตัวกว่าโดยไม่ต้องรอการจับคู่ ไม่ต้องเก็บรักษาเหรียญ และมีขั้นตอนการเปิดบัญชีที่ไม่ยุ่งยาก แต่สามารถทำกำไรในสัดส่วนที่สูงได้จากการใช้อัตราทด ในทางตรงข้ามก็มีความเสี่ยงสูงในการขาดทุนที่สูงเช่นกัน

ถึงตรงนี้ก็คงไม่สงสัยกันอีกต่อไปแล้วว่า LINK Coin คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับ Chainlink รวมทั้งมีกลไกการทำงานเบื้องหลัง Chainlink อย่างไรและมีการนำ LINK Coin ไปใช้งานอะไรบ้าง ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความได้เปรียบของ LINK Coin ก็คงหนีไม่พ้นการทำงานที่ช่วยเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างบล็อกเชนและโลกภายนอกที่เป็นการปลดล็อกศักยภาพของ Smart Contract ซึ่งเป็นฟีเจอร์เด่นของบล็อกเชนให้ถูกนำมาใช้ได้อย่างแพร่หลายมากขึ้น รองรับการทำงานที่จริงจังขึ้น จนกลายมาเป็นตัวเลือกที่สร้างพันธมิตรเป็นบริษัทชั้นนำ เช่น Google FedEx หรือ FlightStats ให้เข้ามาพัฒนาโปรเจกต์ร่วมกัน และเรามีแนวโน้มที่จะได้เห็นการพัฒนาอีกหลาย ๆ อย่างของ Chainlink ในอนาคต จนกลายมาเป็นอีกเหรียญหนึ่งที่ควรมีติดพอร์ตหรือกระเป๋าเงินดิจิทัลไว้อย่างแน่นอน

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
Ethereum(ETH) คืออะไร? ทุกอย่างที่คุณจำเป็นต้องรู้Ethereum คือ Programmable Blockchain หรือแพลตฟอร์ม Blockchain ที่รองรับแอพริเคชั่นหลากหลายด้วยการใช้ Smart contract รองรับการมาของ Web3 ที่จะเปลี่ยนแปลงโลกของเรา
ผู้เขียน  MitradeInsights
Ethereum คือ Programmable Blockchain หรือแพลตฟอร์ม Blockchain ที่รองรับแอพริเคชั่นหลากหลายด้วยการใช้ Smart contract รองรับการมาของ Web3 ที่จะเปลี่ยนแปลงโลกของเรา
placeholder
Stellar Lumens คืออะไรและแนวโน้มเหรียญ XLM ในปี 2023 เป็นอย่างไรในบทความนี้เราพร้อมที่จะอธิบายอย่างละเอียดว่า Stellar Lumens หรือ XLM Coin คืออะไร มีระบบการทำงานอย่างไรบ้าง มีจุดเด่นและจุดด้อยอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งวิเคราะห์แนวโน้มในปี 2023 เหรียญ XLM น่าลงทุนหรือไม่
ผู้เขียน  ชัญญาพัชร์ ประวาสุขInsights
ในบทความนี้เราพร้อมที่จะอธิบายอย่างละเอียดว่า Stellar Lumens หรือ XLM Coin คืออะไร มีระบบการทำงานอย่างไรบ้าง มีจุดเด่นและจุดด้อยอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งวิเคราะห์แนวโน้มในปี 2023 เหรียญ XLM น่าลงทุนหรือไม่
placeholder
Uniswap(UNI) คืออะไร? เหรียญ UNI ดีไหม? แนวโน้มเหรียญ UNI จะเป็นอย่างไร?วันนี้เรามาสำรวจกันว่า Uniswap และ UNI Coin คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมทั้งวิเคราะห์เหรียญ UNI ดีไหม น่าลงทุนไหมและแนวโน้มเหรียญ UNI เป็นไงบ้าง ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  ชัญญาพัชร์ ประวาสุขInsights
วันนี้เรามาสำรวจกันว่า Uniswap และ UNI Coin คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมทั้งวิเคราะห์เหรียญ UNI ดีไหม น่าลงทุนไหมและแนวโน้มเหรียญ UNI เป็นไงบ้าง ตามมาดูกันเลย
placeholder
Solana(SOL) คืออะไร? เหรียญ SOL ดีไหม? อนาคตของเหรียญ SOL จะเป็นไงบ้าง?Solana เหรียญสาย Smart Contract น้องใหม่ไฟแรงที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว วันนี้เรามาสำรวจกันว่า Solana(SOL) คืออะไร เหรียญ SOL ดีไหมและอนาคตของเหรียญ SOL จะเป็นไงบ้าง
ผู้เขียน  ภัสนัย จิรฤกษ์มงคลInsights
Solana เหรียญสาย Smart Contract น้องใหม่ไฟแรงที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว วันนี้เรามาสำรวจกันว่า Solana(SOL) คืออะไร เหรียญ SOL ดีไหมและอนาคตของเหรียญ SOL จะเป็นไงบ้าง
placeholder
เหรียญ IOST คืออะไร? ดีไหม? การวิเคราะห์แนวโน้มเหรียญ IOSTIOST คืออะไร? IOST ย่อมาจาก ‘Internet of Service Token’ โดยมีจุดมุ่งหมายแรกว่าจะเป็นผู้ให้บริการบล็อคเชนบนอินเทอร์เน็ตที่ซึ่งพร้อมรับการเข้ามาใช้เป็นจำนวณมาก (Scalability)
ผู้เขียน  ภัสนัย จิรฤกษ์มงคลInsights
IOST คืออะไร? IOST ย่อมาจาก ‘Internet of Service Token’ โดยมีจุดมุ่งหมายแรกว่าจะเป็นผู้ให้บริการบล็อคเชนบนอินเทอร์เน็ตที่ซึ่งพร้อมรับการเข้ามาใช้เป็นจำนวณมาก (Scalability)
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์