Ethereum(ETH) คืออะไร? ทุกอย่างที่คุณจำเป็นต้องรู้

8 นาที
อัพเดทครั้งล่าสุด 30 ส.ค. 2566 09:52 น.
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

Ethereum(ETH) คืออะไร? Ether คืออะไร?

Ethereum คือ Programmable Blockchain หรือแพลตฟอร์ม Blockchain ที่รองรับแอพริเคชั่นหลากหลายด้วยการใช้ Smartcontract รองรับการมาของ Web3 ที่จะเปลี่ยนแปลงโลกของเราจากเว็ปไซต์หรือ Application ต่างๆที่ใช้แบบรวมศูนย์ให้กลายมาเป็นแบบกระจายศูนย์ เพื่อความปลอดภัยและการกระจายรายได้อย่างเท่าเทียม


อีกนัยนึง Ethereum นั้นก็เป็น ‘สกุลเงิน’ ใน Ecosystem ของ Ethereum พูดอย่างง่ายคือใครก็ตามที่จะใช้บริการบน Ethereum พวกเขาจำเป็นที่จะต้องใช้ Ethereum มาใช้เป็นค่าบริการสำหรับ Transaction และมันยังสามารถที่จะส่งให้แก่คนอื่นได้อีกด้วย ทำให้มันเป็นเหมือน Internet Money อีกสกุลหนึ่งเฉกเช่น Bitcoin


หรือสรุปเป็น 2 ประเด็นคือ:

1. เครือข่าย Ethereum ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) และแอปพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ


2. Ether ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่สร้างขึ้นบนแพลตฟอร์ม Ethereum เมื่อมีคนพูดถึงการซื้อขายการลงทุนหรือการจ่ายเงินด้วย Ethereum จะหมายถึงสกุลเงิน Ether


▲ ใครเป็นคนสร้าง Ethereum?


Vitalik Beterin


Vitalik Beterin คือเด็กหนุ่มผู้ก่อตั้ง Ethereum เขาเป็นชาว Russian-Canadian ที่ซึ่งเป็นนักเขียนและ Programmer ในตัวคนเดียวกัน เขาได้หลงใหลใน Bitcoin ตั้งแต่ปี 2011 ในช่วงนั้นเขารับงานเป็นนักเขียนคอลัมน์เกี่ยวกับ Bitcoin (Bitcoin Magazine) หลังจากนั้นเขาก็ได้หลงใหลใน Cryptocurrency เป็นอย่างมาก จากงานที่ทำในครั้งนั้น จึงเป็นแรงบันดาลใจสำคัญในการสร้าง Ethereum ขึ้นมา โดยเจาะจงไปที่การสร้าง DApps นั่นเอง


เขาได้เดินทางไปทั่วโลก 6 เดือนเต็มในปี 2013 เพื่อพูดคุยกับคอมมูนิตี้ Bitcoin เขาก็ได้คิดได้ว่า ‘เขาสามารถต่อยอดไอเดียของ Bitcoin ได้’ ด้วยการใช้ Blockchain ของ Bitcoin มาใช้กับ Application ต่างๆที่รันกันอยู่บนอินเทอร์เน็ตอยู่ทุกวันนี้ โดยใช้การส่งข้อมูลแบบ Decentralized มาใช้เป็นการส่งคำสั่งแทนที่เรียกว่า ‘Smart contracts’ ที่ซึ่งจะเป็นกฎที่อยู่บน Blockchain ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง และทำให้ App ต่างๆต่อไปนี้เปลี่ยนมาเป็นแบบ Decentralized ได้


▲ Ether คืออะไร?

Ether เป็นชื่อของ Token ของ Ethereum ทุกๆโปรแกรมต้องใช้ Ether (Token) มาเพื่อเป็นค่าบริการในข้างต้น เพื่อใช้เป็น ‘Fuel’ หรือเชื้อเพลิง ในการให้แอพพลิเคชั่นรัน (เหมือนการหยอดเหรียญในตู้กดน้ำ) ซึ่ง Token นี้จะเป็นผลตอบแทนให้กับผู้ที่ช่วยตรวจสอบ Transaction หรือ ‘Node’ เพื่อให้ Ecosystem ของ Ethereum ใหญ่โตมากยิ่งขึ้น

ลักษณะการทำงานของ Ethereum คืออย่างไร? Ethereum ใช้มาทำอะไรได้บ้าง

Ethereum คือ Blockchain ที่มุ่งมั่นในการสร้าง DApps เป็นหลักโดยใช้ระบบการตรวจสอบแบบ Proof-of-work คือการ เก็บ 'Database' หลายแห่ง ทุก Node (คอมพิวเตอร์) จะมี Data ชุดเดียวกันและจะทำการตรวจสอบกันว่าชุดข้อมูล Data ตรงกันหรือไม่ หากไม่ตรงก็จะทำการปัดตก Node นั้นไปทันที ทำให้ Node ดังกล่าวไม่ได้รับ Reward หรือ ‘Ether’ ไปนั่นเอง


ไม่ว่าจะเป็น Data แบบไหน มันก็ถูกส่งกันผ่าน Blockchain ได้หากอยากทำให้มัน Decentralized และปลอดภัย ทำให้เกิดการนำแนวความคิดนี้มาใส่ใน Application ที่ซึ่งเราสามารถที่จะส่งข้อมูลของสิ่งต่างๆหากันได้ไม่ว่าจะเป็น ไอเท็มในเกม, รูปภาพ, Identity ต่างๆที่ซึ่งจะปลอมแปลงไม่ได้


ทุกๆอย่างถูกควบคุมโดย Code นั้นทำให้มันไม่จำเป็นต้องใช้ตัวกลางในการรันโปรแกรม โปรแกรมเหล่านั้นล้วนใช้งานอยู่บน ETH Blockchain เมื่อมีการ Input ข้อมูลเข้าไป Code ที่เขียนไว้จะรันมันตามที่ว่าไว้ ทำให้คุณสามารถใช้งานแอพพริเคชั่นได้โดยผ่านการจ่ายเหรียญ ETH ไปใน Blockchain เพื่อใช้แอพที่อยู่บนนั้น เสมือนการที่เรากดตู้หยอดน้ำนั้นเอง


แล้ว Ethereum ใช้มาทำอะไรได้บ้าง?


Use cases - Ethereum ใช้มาทำอะไรได้บ้าง


Ethereum มีโปรเจ็กต์ที่มาสร้างนับเป็นพันพันโปรเจ็กต์ แต่โปรเจ็กต์ที่โดดเด่นนั้นอาจจะมีไม่มากนัก ซึ่งจะแบ่งตามหมวดหมู่ได้ดังนี้


1. Decentralized Finance


โปรเจ็กต์ของ Ethereum ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การกระจายศูนย์ของระบบการเงิน การใช้ Crypto เพื่อมาทดแทนธนาคารในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Lending, Borrowing, Earning, Interest หรือ Payment ต่างๆโดยที่ไม่ต้องเก็บข้อมูลส่วนบุคคลใดๆ


1.1 Lending & Borrowing

  • Aave, Compound ให้คุณสามารถกู้ยืมหรือฝากโทเค็นได้ตลอดเวลา

  • Oasis - สามารถแลกเปลี่ยนโทเค็นของคุณเป็น ETH Stablecoin ได้คือ DAI


1.2 Token Swaps

  • Uniswap - สามารถแลกเปลี่ยนเหรียญได้ง่ายๆโดยได้ % Reward ตอบแทน

  • Matcha - เปรียบเทียบ DEX หลายเจ้าเพื่อให้ได้เรทที่ดีที่สุด

  • 1inch - เสนอ Slippage ที่ต่ำที่สุดให้แก่คุณ


1.3 Trading & Prediction

  • Polymaker, Augur - แพลตฟอร์มพนันราคาเหรียญ

  • dYdX - เปิด Leverage position ได้มากถึง x10 ของปัจจุบัน


2. Art&Collectibles


โปรเจ็กต์ที่เน้นในการสร้าง Digital ownership ให้ความเป็นเจ้าของแก่ Creator และเพิ่มพลังให้แก่นักสะสมงานดิจิตอล


2.1 Digital Collectibles

  • Opensea, Rarible, CryptoPunk - ซื้อ ขาย เก็บสะสมงานดิจิตอลของตนเอง


2.2 Music

  • Audius - แพลตฟอร์มฟังเพลงแบบ Decentralized เงินจะถูกส่งให้แก่ศิลปินโดยตรงผ่านการฟัง


3. Decentralized Gaming


เกมในยุค Web3.0 ผู้คนจะสามารถครอบครองทรัพย์สินในเกมได้อย่างแท้จริง


3.1 Decentraland - แพลตฟอร์มโลกเสมือน


3.2 Axie Infinity - ใช้มอนสเตอร์ต่อสู้กัน ซื้อขายตัวละครกันบน Blockchain


4. Decentralized Technology


สิ่งประดิษฐ์ต่างๆที่ถูกสร้างมาบน Web2 จะถูกนำมาใช้บน Web3 มากยิ่งขึ้นผ่านกาลเวลา


4.1 Utility - ENS (Ethereum Name Service) ผู้คนจะสามารถตั้งชื่อ Domain ตัวเองกันได้ในเชนของ Ethereum

ข้อดีของ Ethereum และโอกาสในอนาคต

 1. Usecase มากที่สุด


Ethereum ก่อตั้งตั้งแต่ปี 2017 ทำให้มันมีแอพริเคชั่นหลากหลายและถูกสร้างมานานบน Platform นี้ มี DApps มากมายซึ่งเน้นไปที่ DeFi และ NFT ทำให้มันกลายเป็นแพลตฟอร์มที่น่าเชื่อถือตามกาลเวลา


 2. Decentralized มากที่สุด


ในขณะที่มันนั้นแพงมากที่สุด มันก็เป็น Blockchain ที่มีความกระจายศูนย์มากที่สุดเช่นกัน สำหรับ Blockchain แล้วยิ่งมี Node มากเท่าไหร่ ความปลอดภัยก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น (เพราะทำการโจมตี 51% Attack ได้ยากมากขึ้น)


 3. ETH 2.0 กำลังจะมา


ETH 2.0 คือระบบ Sharding และระบบ Staking ที่จะมาใช้เป็น POS แทนระบบฉันทามติแบบเดิม POW ซึ่งระบบฉันทามติแบบ POS จะสามารถแก้ไขปัญหา Congestion และประหยัดพลังงานมากกว่าเดิม ซึ่งจะส่งผลให้ ETH มีมูลค่าที่สูงขึ้นในอนาคตนั่นเอง


ข้อเสียและความเสี่ยงของ Ethereum

1. Ethereum มีปัญหาด้านการ Scaling

Ethereum เนื่องจากว่ามีการใช้ระบบ POW ซึ่งสามารถรับจำนวน Transaction ได้เพียง 1,500 - 2,000 Transaction/ 10 นาที เท่านั้น ในขณะที่มันมีจำนวน Transaction มากถึง 1 ล้าน Ts ต่อวัน ซึ่งทำให้ผู้ที่รับต้องการใช้งานจะต้องใส่ค่า Gas เข้าไปเพิ่ม ในขณะที่มีคนเก็งกำไร Ethereum กันอยู่มาก ก็จะทำให้ Ether นั้นดูให้ผลตอบแทนไม่คุ้มกับรายย่อยเท่าไหร่ ยิ่งมันโตมากเท่าไหร่ มันก็จะคุ้มค่าแค่กับรายใหญ่อย่างเดียว


2. Solidity ภาษาเดียวของ Ethereum


ปัญหาของวงการ Blockchain คือแต่ละ Chain นั้นใช้ภาษาที่ต่างกันออกไป ทำให้ผู้ที่เริ่มต้นจาก Chain อื่นก็อาจจะชินกับภาษานั้นๆ ทำให้นักพัฒนาใหม่ๆเข้ามาทำธุรกิจใน Ethereum ได้ยากลำบาก


3. Smartcontract ไม่ได้มีแค่เจ้าเดียวอีกต่อไป


ปัจจุบันนี้ผู้ที่สามารถเสนอ Smart Contract ได้มีจำนวนมากมายไม่ว่าจะเป็น Cardano, BSC, Tezos, EOS, Polkadot, Chainlink เมื่อเวลาผ่านไป ทุกคนก็อยากที่จะเข้ามาอยู่ในตลาดนี้มากยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานและนักพัฒนามีทางเลือกมากขึ้นในการเลือก Platform ลงทุน


4.Ethereum ไม่มี Max Cap


เนื่องจาก ETH ใช้ระบบ Deflationary ด้วยการ Burn ทิ้งทุกๆปี มูลค่าของมันจึงจะถูกสะท้อนจาก Demand/Supply เท่านั้น ไม่มีคำว่าจำกัด ฉะนั้นแล้วการถือ ETH อาจจะไม่ได้หมายความว่ามันจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเหมือนเหรียญที่มีจำนวณจำกัดอื่นๆ

ประเภทอื่นๆ ของ Ethereum: ETH classic vs ETH 2.0

▲ ETH classic

ทุกคนอาจจะสงสัยกันว่าอะไรคือ Ethereum classic (ETC) ? มันคือ Blockchain ที่แยกออกมาจาก Ethereum เมื่อเกิดเหตุการโดนแฮ็คครั้งใหญ่ในปี 2016, แรกสุด Ethereum นั้นถูกสร้างขึ้นในปี 2015 แต่เมื่อมันถูกแฮ็คในปี 2016 ราว $60 ล้าน


คนใน Community จึงทำการ ‘Hard Fork’ Ethereum ขึ้นมาอีก Chain นึงและตั้งชื่อว่า ‘Ethereum Classic’ โดยมีกฎปฎิญาณว่า ‘Code is law’ คือ Code นั้นไม่ควรที่จะแก้ได้ ซึ่งจะต่างจากความตั้งใจของ Ethereum ในปัจจุบันที่มันสามารถแก้ได้หาก DAO ต้องการให้แก้มัน


ETH Classic ยังคงใช้ระบบ PoW อยู่ ทั้งสองเหรียญต่างมีคอนเซ็ปในการเป็น Platform สำหรับ DApps เช่นกัน แม้ว่าสุดท้ายแล้ว ETC จะทำผลงานได้ต่างจาก ETH ปัจจุบันราคาการเทรดกันของ ETC อยู่ที่ $26 ในขณะที่ ETH อยู่ที่ $2,800. ETC มี Supply ที่จำกัด แต่ ETH นั้นไม่จำกัด


▲ ETH 2.0

ETH Protocol ที่ถูกใช้ตั้งแต่ปี 2015 ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในปัจจุบัน แต่เมื่อมีคนใช้เยอะมากขึ้น มี Transaction เยอะมากขึ้นก็ทำให้ประสบปัญหาใหม่ๆอย่างเรื่อง Disk Space ที่ใช้มากขึ้น, Proof-of-work ที่ต้องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น การ์ดจอรุ่นใหม่มากขึ้น และผู้ทำให้ราคาของ Ether นั้นสูงขึ้นจนรายย่อยยากลำบากในการใช้


Ethereum จึงจัดตั้งการอัพกรด ETH2.0 ขึ้นเพื่อเพิ่มขีดจำกัดการ ‘Scaling’, ‘Secure’ และ ‘Sustainable’ เพื่อให้ User ในปัจจุบันได้ใช้ ETH ในแบบที่ดีในราคาที่ถูกลง


โดยจะแก้ปัญหา 2 ประการดังต่อไปนี้


Scalability

Ethereum จำเป็นต้องสามารถจัดการธุรกรรมได้มากขึ้นต่อวินาทีโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดของโหนดในเครือข่าย โหนดคือผู้เข้าร่วมเครือข่ายที่สำคัญซึ่งจัดเก็บและเรียกใช้บล็อกเชน การเพิ่มขนาดโหนดนั้นไม่สามารถทำได้จริง เนื่องจากมีเพียงผู้ที่มีคอมพิวเตอร์ราคาแพงและทรงพลังเท่านั้นที่ทำได้ ในการปรับขนาด Ethereum ต้องการธุรกรรมเพิ่มเติมต่อวินาที ควบคู่ไปกับโหนดที่มากขึ้น โหนดที่มากขึ้นหมายถึงความปลอดภัยที่มากขึ้น


การอัพเกรด ’ชาร์ด’ เชนจะกระจายโหลดของเครือข่ายไปยัง 64 เชนใหม่ สิ่งนี้จะทำให้ Ethereum มีช่องว่างโดยลดความแออัดและปรับปรุงความเร็วเกินขีดจำกัด 15-45 ธุรกรรมต่อวินาทีในปัจจุบัน ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซ่ชาร์ด


และถึงแม้ว่าจะมีเชนจำนวนมากขึ้น แต่ก็ต้องการงานน้อยลงจากผู้ตรวจสอบความถูกต้อง - ผู้ดูแลเครือข่าย ผู้ตรวจสอบความถูกต้องจะต้อง 'เรียกใช้' ชาร์ดของพวกเขาเท่านั้น ไม่ใช่เชน Ethereum ทั้งหมด สิ่งนี้ทำให้โหนดมีน้ำหนักเบาขึ้น ทำให้ Ethereum สามารถปรับขนาดและคงการกระจายอำนาจได้


Security

การอัพเกรดที่วางแผนไว้จะช่วยปรับปรุงความปลอดภัยของ Ethereum จากการโจมตีแบบประสานกัน เช่น การโจมตี 51% นี่เป็นการโจมตีประเภทหนึ่งที่หากมีผู้ควบคุมเครือข่ายส่วนใหญ่ พวกเขาสามารถบังคับผ่านการเปลี่ยนแปลงที่เป็นการฉ้อโกงได้


การเปลี่ยนไปใช้ proof-of-stake หมายความว่าโปรโตคอล Ethereum นั้นไม่สนับสนุนการโจมตี เนื่องจากใน proof-of-stake ผู้ตรวจสอบความถูกต้องที่รักษาความปลอดภัยเครือข่ายจะต้องเดิมพัน ETH จำนวนมากในโปรโตคอล หากพวกเขาพยายามโจมตีเครือข่าย โปรโตคอลสามารถทำลาย ETH ได้โดยอัตโนมัติ


การเปลี่ยนมาเป็น Staking ยังหมายความว่าคุณไม่จำเป็นต้องลงทุนในฮาร์ดแวร์ชั้นยอดเพื่อ 'เรียกใช้' โหนด Ethereum สิ่งนี้ควรส่งเสริมให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นเป็นผู้ตรวจสอบ เพิ่มการกระจายอำนาจของเครือข่าย และลดโอกาสที่จะถูกโจมตีอีกด้วย


Ethereum vs. Bitcoin ต่างกันอย่างไร

Ethereum vs. Bitcoin

ทั้ง 2 ต่างล้วนเป็น Cryptocurrency เช่นเดียวกัน แต่ Ethereum และ Bitcoin นั้นถูกสร้างขึ้นมาใน ‘คนละจุดประสงค์กัน’ เราจะแสดงความแตกต่างของทั้ง 2 เหรียญให้ได้ฟังกัน


1. Bitcoin นั้นสร้างมาเป็น Digital gold แต่ Ethereum เป็น Gas สำหรับ DApps

Bitcoin และ Ethereum นั้นต่างกันในส่วนของพื้นฐาน Bitcoin เน้นไปทางเป็นทองคำแห่งดิจิตอลเพื่อนำมาใช้แทนเงินดอลล่าร์ในปัจจุบัน ในขณะที่ Ethereum นั้นเป็นเสมือน Token ที่ใช้สำหรับการจ่ายธุรกรรมในแอพของ Ethereum เช่น เหล่า DeFi ต่างๆ โดย Ethereum นั้นจะเน้นไปที่ Smartcontract ซึ่งจะแตกต่างจาก Bitcoin ที่เน้นใช้ได้ฟีเจอร์เดียว


2. Consensus Mechanism

BTC นั้นใช้ระบบ POW ในการตรวจสอบธุรกรรมในขณะที่ ETH นั้นใช้ระบบ POS ในการ Upgrade ที่กำลังจะถึงนี้ การใช้ระบบ POW นั้นมีข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือมันมีค่าใช้จ่ายมากในการเป็น Node และใช้ต้นทุนสูงเหมาะกับการขุด BTC จริงๆ (คุณค่าของ BTC จึง = ค่าไฟ) เมื่อเทียบกับ POS ที่ต้นทุนต่ำ ประหยัดค่าใช้จ่าย

จากที่กล่าวมาทั้งหมด ก็คือ ข้อมูลเกี่ยวกับ ETH หรือ Ethereum หนึ่งในสกุลเงินดิจิทัลที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของตลาด เป็นรองจากบิทคอยน์เท่านั้น วัตถุประสงค์ในการเขียนบทความนี้ขึ้นมา ทางเราต้องแชร์ความรู้ให้กับทุกคนเพียงนั้น ไม่ได้เป็นการชักชวนให้ลงทุนแต่อย่างใด เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีความผันผวนสูงมีความเสี่ยงสูงเป็นอย่างมาก ดังนั้นนักลงทุนทุกท่านจำเป็นที่ต้องศึกษารายละเอียดให้ดีการลงทุนเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการลงทุนนัานเอง จะดีกว่าถ้าคุณฝึกฝนการซื้อขาย Ethereum ก่อน เราขอแนะนำให้คุณลองใช้บัญชีทดลองของ Mitrade เนื่องจากมันเสนอเงินเสมือนให้คุณ $50,000 สำหรับการฝึกฝนโดยไม่มีข้อกำหนดใดๆ สิ่งที่คุณต้องทำคือลงทะเบียนและเริ่มต้นใช้งาน


mitrade
dago กำกับดูแลโดย ASIC/CIMA/FSC
dago เทรดคริปโตกับโบรกเกอร์ชั้นนำ
dago ค่าคอมมิชชั่น 0 และสเปรดต่ำ
dago แจกโบนัสสำหรับลูกค้าใหม่ $100 ดอลลาร์
dago ฟรีเงินเสมือนจริง $50,000 ดอลล่าร์
ตราสารอนุพันธ์อาจจะทำให้คุณขาดทุนทั้งหมด โปรดอ่านพิจรนา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของเรา นำเสนอ โดย Mitrade Holding Ltd.SIB License 1612446
ตราสารอนุพันธ์อาจจะทำให้คุณขาดทุนทั้งหมด โปรดอ่านพิจรนา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของเรา นำเสนอ โดย Mitrade Holding Ltd.SIB License 1612446
คำถามที่พบบ่อย
Smart Contract คืออะไร
Smart Contract คือ Code หรือสัญญาที่เขียนไว้บน Blockchain ว่าระบบจะต้องดำเนินตามแบบแผนนี้เท่านั้น โดยที่ไม่ใช้คนในการตัดสินใจหรือใดๆก็แล้วแต่ มันเป็นหัวใจของ Ethereum ในการส่งข้อมูลในระบบใดๆก็ตามใช้ได้โดยไร้ตัวกลาง ทุกๆ Transaction จะถูกเก็บไว้บน Blockchain ทำให้มันปลอดภัยและตรวจสอบได้ เช่น การที่จะส่ง Bitcoin ไปหาใครซักคนนึงจะต้องมีคนรับและคนส่ง แต่หากใช้ Smart Contract ระบบนั้นจะอยู่บน Blockchain ซึ่งต่างจาก Server ของบริษัท Code เหล่านั้นจะถูกสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง เฉกเช่น โค้ดที่หยอดเหรียญแล้วมีน้ำออกมาจากตู้ เมื่อเทียบกับการซื้อน้ำที่ร้านขายของชำ ที่เราต้องใช้คนในการรับเงินและส่งเงิน
DAPP คืออะไร
DApps ย่อมาจาก Decentralized Application หรือ Application ที่เราใช้กันปัจจุบันนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นแอพเรียกรถ เรียกส่งอาหาร หรืออะไรก็แล้วแต่ แอพเหล่านี้ต่างล้วนส่งข้อมูลกันอยู่บน Server ของตัวเอง ไม่มีการตรวจสอบ ทุกอย่างรันบน Code ที่ใช้กันภายใน แต่สำหรับ DApps นั้นสร้างมาด้วยคอนเซ็ปที่ต่างออกไป เป็นเพราะว่าแรกสุดต้องการให้มันรันได้โดยไม่ใช้ตัวกลาง ซึ่งจะประหยัดกว่าและโปร่งใสกว่า จึงถูก Design ให้มี Database หลายอันและแต่ละ Node จะช่วยกันตรวจสอบ Transaction กันและกันไป โดยการช่วยตรวจสอบนั้นจะได้ผลตอบแทนเป็น Token ‘Ether’ กลับมาเพื่อนำไปจ่ายเป็นค่าทำธุรกรรมบน DApps ต่อไป DApps ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันได้แก้ Aave, Uniswap, Compound, Oasis, Opensea, ENS
Gas คืออะไร
Gas ในที่นี้นั้นหมายถึงค่าบริการหรือ Fee ที่ต้องจ่ายเพื่อทำให้ธุรกรรมนั้นสำเร็จบน Etheruem Platform มันใช้จำนวณไม่มากเพื่อจ่ายเป็นค่าบริการนี้ อาจจะเรียกอีกอย่างว่า Gwei บางทีก็เรียกว่า Nanoeth มันใช้สำหรับส่งข้อมูลข้ามระหว่างกันใน ETH Ecosystem ราคาของ Gas หรือ ETH นั้นขึ้นอยู่กับ Demand Supply ที่ซึ่งจะมีการขึ้นลงตามความต้องการของตลาด หากช่วงใดที่มีคนใช้มากมันอาจจะแพงขึ้น ซึ่งส่งผลให้คนอยากขุด ETH กันมากขึ้น แต่หากมีการใช้งานน้อยลง ก็จะทำให้ราคามันต่ำลง และมีคนขุดน้อยลง ซึ่งค่า Gas นั้นเราอาจจำเป็นที่จะต้องไปเปรียบเทียบกับคนอื่นเมื่อถึงช่วงเวลาที่มีคนใช้ระบบมาก เราอาจจะต้องจ่ายค่าแก๊สสูงเพื่อให้เราได้ทำธุรกรรมนั้นก่อนคนอื่น

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
Stellar Lumens คืออะไรและแนวโน้มเหรียญ XLM ในปี 2023 เป็นอย่างไรในบทความนี้เราพร้อมที่จะอธิบายอย่างละเอียดว่า Stellar Lumens หรือ XLM Coin คืออะไร มีระบบการทำงานอย่างไรบ้าง มีจุดเด่นและจุดด้อยอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งวิเคราะห์แนวโน้มในปี 2023 เหรียญ XLM น่าลงทุนหรือไม่
ผู้เขียน  ชัญญาพัชร์ ประวาสุขInsights
ในบทความนี้เราพร้อมที่จะอธิบายอย่างละเอียดว่า Stellar Lumens หรือ XLM Coin คืออะไร มีระบบการทำงานอย่างไรบ้าง มีจุดเด่นและจุดด้อยอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งวิเคราะห์แนวโน้มในปี 2023 เหรียญ XLM น่าลงทุนหรือไม่
placeholder
Uniswap(UNI) คืออะไร? เหรียญ UNI ดีไหม? แนวโน้มเหรียญ UNI จะเป็นอย่างไร?วันนี้เรามาสำรวจกันว่า Uniswap และ UNI Coin คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมทั้งวิเคราะห์เหรียญ UNI ดีไหม น่าลงทุนไหมและแนวโน้มเหรียญ UNI เป็นไงบ้าง ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  ชัญญาพัชร์ ประวาสุขInsights
วันนี้เรามาสำรวจกันว่า Uniswap และ UNI Coin คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมทั้งวิเคราะห์เหรียญ UNI ดีไหม น่าลงทุนไหมและแนวโน้มเหรียญ UNI เป็นไงบ้าง ตามมาดูกันเลย
placeholder
Solana(SOL) คืออะไร? เหรียญ SOL ดีไหม? อนาคตของเหรียญ SOL จะเป็นไงบ้าง?Solana เหรียญสาย Smart Contract น้องใหม่ไฟแรงที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว วันนี้เรามาสำรวจกันว่า Solana(SOL) คืออะไร เหรียญ SOL ดีไหมและอนาคตของเหรียญ SOL จะเป็นไงบ้าง
ผู้เขียน  ภัสนัย จิรฤกษ์มงคลInsights
Solana เหรียญสาย Smart Contract น้องใหม่ไฟแรงที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว วันนี้เรามาสำรวจกันว่า Solana(SOL) คืออะไร เหรียญ SOL ดีไหมและอนาคตของเหรียญ SOL จะเป็นไงบ้าง
placeholder
เหรียญ IOST คืออะไร? ดีไหม? การวิเคราะห์แนวโน้มเหรียญ IOSTIOST คืออะไร? IOST ย่อมาจาก ‘Internet of Service Token’ โดยมีจุดมุ่งหมายแรกว่าจะเป็นผู้ให้บริการบล็อคเชนบนอินเทอร์เน็ตที่ซึ่งพร้อมรับการเข้ามาใช้เป็นจำนวณมาก (Scalability)
ผู้เขียน  ภัสนัย จิรฤกษ์มงคลInsights
IOST คืออะไร? IOST ย่อมาจาก ‘Internet of Service Token’ โดยมีจุดมุ่งหมายแรกว่าจะเป็นผู้ให้บริการบล็อคเชนบนอินเทอร์เน็ตที่ซึ่งพร้อมรับการเข้ามาใช้เป็นจำนวณมาก (Scalability)
placeholder
Avalanche (AVAX Coin) คืออะไร?น่าลงทุนไหมในปี 2023?ในบทความนี้ เราจะมาแนะนำว่า Avalanche (AVAX Coin) คืออะไร พร้อมพิจารณาปัจจัยที่นำไปอธิบายว่า AVAX นั้นจะเป็นบล็อคเชนที่เร็วที่สุดได้อย่างไรและยังน่าลงทุนไหมในปี 2023
ผู้เขียน  ภัสนัย จิรฤกษ์มงคลInsights
ในบทความนี้ เราจะมาแนะนำว่า Avalanche (AVAX Coin) คืออะไร พร้อมพิจารณาปัจจัยที่นำไปอธิบายว่า AVAX นั้นจะเป็นบล็อคเชนที่เร็วที่สุดได้อย่างไรและยังน่าลงทุนไหมในปี 2023
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์