Fear and Greed Index : สามารถปกป้องการลงทุนของคุณได้หรือไม่?

6 นาที
อัพเดทครั้งล่าสุด 12 ก.ค. 2566 01:54 น.
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

ในบทความนี้จะพาทุกคนรู้จักดัชนีภาพรวมเกี่ยวกับการวัดทิศทางความกลัวและความโลภในตลาดการลงทุนเมื่ออารมณ์ของคุณอยู่เหนือการตัดสินใจ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จะหยิบดัชนีตัวหนึ่งขึ้นมา แต่ในบทความนี้เราจะหยิบ Fear and Greed Index ขึ้นมาเพื่อวิเคราะห์ ไปดูในบทความกันเลยว่า Fear and Greed Index หรือ ดัชนีความกลัวและความโลภ เกิดขึ้นได้อย่างไร และมีการคำนวณค่าอย่างไร


Fear and Greed Index คืออะไร

เป็นดัชนีภาพรวมเกี่ยวกับอารมณ์ของนักลงทุนในตลาดว่ากำลังมีอารมณ์ไปในทิศทางกลัวหรือทางโลภมากกว่ากัน เนื่องจากอารมน์เป็นสิ่งสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของราคาในตลาด เพราะว่าถ้านักลงทุนเมื่อมีความกลัวต่อสภาวะตลาด ก็จะพากันเทขายสินทรัพย์ที่มีอยู่ ทำให้ราคาสินทรัพย์ลดลง แต่ถ้ากลับกัน หากนักลงทุนเกิดความโลภ ก็จะมุ่งแห่พากันซื้อจนราคาสินทรัพย์พุ่งสูงขึ้น การวิเคราะห์โดยใช้ Fear and Greed Index ถูกคิดค้นขึ้นโดยสำนักข่าว CNN (Cable News Network) เพื่อใช้วัดสภาพตลาดของดัชนี S&P 500 ภายหลังได้รับความนิยมและถูกนำไปใช้กับตลาดการลงทุนหลายแห่ง รวมไปถึงตลาดคริปโตเคอร์เรนซีเองก็มีดัชนี Crypto Fear & Greed Index ด้วยเช่นกัน โดยดัชนีจะมีการอัปเดตทุก ๆ 8 ชั่วโมง และสามารถใช้งานได้ผ่านทางเว็บไซต์ alternative.me


ข้อดีและข้อเสียของการใช้ Fear and Greed Index

ข้อดีของการใช้ Fear and Greed Index

  • สามารถนำไปปรับกลยุทธ์การลงทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ เช่น เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเข้าทำกำไร

  • Fear and Greed Index แสดงภาพรวมของความเชื่อมั่นของนักลงทุนแบบเรียลไทม์ ช่วยให้ผู้ค้าและนักลงทุนเข้าใจอารมณ์ที่เกิดขึ้นในตลาด

  • ดัชนีได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานง่ายและตีความได้ง่าย โดยทั่วไปจะแสดงในระดับ 0 ถึง 100 โดยค่าที่ต่ำกว่าจะแสดงถึงความกลัว และค่าที่สูงกว่าจะแสดงถึงความโลภ ความเรียบง่ายนี้ทำให้เข้าถึงได้ทั้งนักเทรดมือใหม่และผู้มีประสบการณ์


ข้อเสียของการใช้ Fear and Greed Index

  • Fear and Greed Index แสดงภาพรวมทั่วไปของอารมณ์ตลาด จะไม่มีความแม่นยำมากสักเท่าไหร่ สามารถแสดงความรู้สึกได้กว้าง ๆ เท่านั้น

  • Fear and Greed Index มุ่งเน้นไปที่ความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นเป็นหลัก โดยไม่ได้พิจารณาปัจจัยสำคัญอื่นๆ เช่น ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก

  • ขาดความโปร่งใสในการคำนวณดัชนีซึ่งไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ เพราะเราไม่รู้ว่าใช้สูตร หรือประมวลสถานการณ์ใดบ้างที่นำมาคำนวณ จึงทำให้นักลงทุนไม่เข้าใจวิธีการคำนวณดัชนีว่าเกิดขึ้นจากอะไรบ้าง

Crypto Fear and Greed Index คืออะไร

อย่างที่อธิบายไปในหัวข้อแรก Fear and Greed Index เป็นการวัดความโลภและความกลัวของดัชนี S&P 500 แต่ในหัวข้อนี้จะเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นในตลาดคริปโตฯ เนื่องจากพฤติกรรมของนักลงทุนในตลาดคริปโตฯ เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นทั้งในเชิงบวกและเชิงลบมักมีการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว จึงทำให้เกิดพฤติกรรมในลักษณะของการซื้อง่ายขายง่ายกว่าตลาดลงทุนอื่น ๆ นั่นเอง และเมื่อเกิดการซื้อง่ายขายง่าย เลยทำให้มีการนำดัชนี Crypto Fear and Greed Index มาวิเคราะห์พฤติกรรมของนักลงทุน เพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจเป็นไปตามแผนการลงทุนที่วางไว้


โดยค่า Crypto Fear and Greed Index จะอยู่ระหว่าง 0 ถึง 100


  • ค่า 0 หมายถึง สภาวะที่นักลงทุนในตลาดมีความกลัวถึงขีดสุด ซึ่งอาจทำให้เกิดแรงขายอย่างรุนแรง

  • ค่า 100 หมายถึง มีความหมายในทางตรงกันข้าม นั่นคือ นักลงทุนในตลาดมีความโลภถึงขีดสุด อาจเกิดแรงซื้อเข้ามาอย่างบ้าคลั่ง 


รูปภาพที่แสดง Crypto Fear and Greed Index

ที่มา: alternative.me


Fear and Greed Index ทำงานอย่างไรในตลาด Crypto?

Fear and Greed Index ของ Crypto คำนวณโดยใช้ปัจจัยการทำงานหลายอย่าง รวมถึงความผันผวนของตลาด ปริมาณการซื้อขาย ความรู้สึกทางโซเชียลมีเดีย และการสำรวจความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมตลาด ดัชนี Crypto Fear and Greed Index มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 โดย 0 หมายถึงความกลัวสุดขีด และ 100 หมายถึงความโลภมาก คะแนน 50 จะบ่งชี้ถึงความเชื่อมั่นของตลาดที่เป็นกลาง ดัชนีได้รับการอัพเดททุกวันและสามารถเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับนักลงทุนในการประเมินความเชื่อมั่นโดยรวมของตลาด cryptocurrency ต่อมาเรามาทำความเข้าใจสถานะของความกลัวและความโลภของ Bitcoin ผ่านตัวอย่างในชีวิตจริงกัน อย่างเช่น


 - ความกลัวสุดขีด: ในเดือนพฤศจิกายน 2022 เมื่อ Bitcoin แตะระดับต่ำสุดในรอบสองเดือนหลังจากการล่มสลายของ FTX ดัชนีความกลัวและความโลภของ Bitcoin แสดงค่าเป็น 12 ซึ่งหมายถึงโซนที่ต้องระมัดระวังในตลาด Bitcoin


 - ความโลภมาก: เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2021 Bitcoin พุ่งขึ้นจากข่าวการประกาศของ Elon Musk เกี่ยวกับการลงทุนอย่างมหาศาลของ Tesla ใน Bitcoin ดัชนีพุ่งสูงขึ้นถึง 92 จาก 100 ซึ่งแสดงให้เห็นถึง ความโลภสุดขีดต่อ Bitcoin ในตลาด ในขณะที่ตัวอย่างล่าสุด Bitcoin ซึ่งซื้อขายด้วย "ความกลัว" ตั้งแต่กลางปี 2022 ได้ข้ามช่วงของ $20,000 และย้ายออกจากระดับ "ความกลัว" เป็น "กลาง" หลังจากช่องว่างที่ยาวนานเกือบเก้าเดือน  


Fear and Greed Index คำนวณอย่างไร

ค่าวัดในดัชนี Fear & Greed Index มีตั้งแต่ 1–100 โดยสามารถแบ่งออกเป็น 5 ช่วงได้ดังนี้



ระดับดัชนี

ความเชื่อมั่นของตลาด

0–24

กลัวสุดขีด (Extreme Fear)

24–49

ยังมีความกลัวอยู่ (Fear)

50

เกณฑ์ปกติ (Neutral)

51–74

มีความโลภ (Greed)

75–100

โลภสุดขีด (Extreme Greed)



ค่าวัดดัชนี Fear & Greed Index ทุกประเภทล้วนเป็นผลลัพธ์จากการนำข้อมูลตัวเลขจากหลาย ๆ แหล่งที่เกี่ยวข้องเข้ามาคำนวณร่วมกัน ซึ่ง Crypto Fear & Greed ก็เช่นกัน โดยปัจจัย (Data Sources) ที่ถูกนำมาคำนวณมีดังต่อไปนี้


  • Volatility (25%):
    ป็นการคำนวณดูจากความผันผวน กับ Maximum Drawdown ของราคา Bitcoin และเปรียบเทียบกับ ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 30 วัน และ 90 วัน ถ้ายิ่งมีความผันผวนมากเท่าไหร่ อาจสะท้อนว่าตลาดมีความความกลัว (Fear) และความกลัวขั้นสุด (Extreme Fear) มากขึ้นเท่านั้น

  • Market Momentum/Volume (25%):
    เป็นการคำนวณปริมาณซื้อขายร่วมกับแนวโน้มของตลาด แล้วนำมาเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 30 วัน และ 90 วัน ถ้าหากมีปริมาณซื้อขายสูงขึ้น จะสะท้อนว่าตลาดกำลังมีความโลภเพิ่มขึ้น (Greed) และความโลภขั้นสุด (Extreme Greed) มากขึ้นเท่านั้น 

  • Social Media (15%):
    เป็นการตรวจสอบว่าคำว่า Bitcoin หรือคำที่เกี่ยวข้องทางโซเชียลมีเดีย เช่น ดูจาก # (Hashtag) บน Twitter เพราะถ้าหากยิ่งพูดถึงบ่อยก็เท่ากับว่าคนกำลังให้ความสนใจ และตลาดกำลังมีความโลภมากขึ้น (Greed)

  • Surveys 15% (หยุดใช้ตัวนี้ชั่วคราว):
    มีการทำแบบสำรวจความคิดเห็นทั่วไปบนเว็บไซต์ strawpoll.com โดยจะเปิดรับความคิดเห็นจากผู้ใช้วันละ 2,000–3,000 คน และนำมาคำนวณหาค่าเฉลี่ย แต่ตอนนี้ถูกระงับชั่วคราว เนื่องจากไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร

  • Dominance 10%:
    เป็นการคำนวณโดยดูว่า Bitcoin กำลังมีสัดส่วนเป็นเท่าไหร่เมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดคริปโตทั้งหมด โดยมีมุมมองว่าถ้า Bitcoin มีส่วนแบ่งในตลาดเยอะ ซึ่งหมายความว่านักลงทุนกังวลเพราะมีความเสี่ยงมากเกินไป จะเข้าสู่ระดับความกลัว (Fear) จึงต้องหาหลุมหลบภัย กลับกัน หาก Bitcoin มีส่วนแบ่งตลาดน้อยลง ความเป็นไปได้ที่สภาพตลาดจะเข้าสู่ระดับความโลภ (Greed) เท่ากับว่าตลาดกำลังมีความโลภมากขึ้น

  • Trends 10%:
    เป็นการวิเคราะห์จาก Google Trends โดยดูทั้งเรื่องของจำนวนการค้นหา ยิ่งมีการค้นหาที่เกี่ยวข้องมากเท่าไหร่ ยิ่งนำไปสู่ระดับความโลภ (Greed) มากเท่านั้น


ทำไมต้องวัด Fear and Greed Index ในตลาด Crypto

อย่างที่เรารู้ว่า Fear and Greed Index ใช้ดูพฤติกรรมที่แสดงออกมาทางอารมณ์ ซึ่งพฤติกรรมของตลาดคริปโตฯ นั้นผันผวนอย่างมากและเกี่ยวข้องกับอารมณ์เป็นอย่างมากเช่นกัน จะเห็นว่านักลงทุนจะอยากซื้อเหรียญคริปโตฯ เมื่อตลาดปรับตัวขึ้นซึ่งส่งผลให้เกิดการ FOMO (กลัวการพลาดโอกาส) ด้วยเหตุนี้ ดัชนีความกลัวและความโลภจึงถูกคิดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์สภาพตลาดในมิติของอารมณ์ มีข้อสังเกตุง่าย ๆ อย่างเช่น


  • เมื่อเกิดความกลัวอย่างสุดขีดอาจเป็นสัญญาณว่านักลงทุนกังวลมากเกินไป นั่นอาจเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าซื้อ

  • เมื่อนักลงทุนมีความโลภมากเกินไปนั่นหมายถึงตลาดถึงกำหนดปรับฐาน อาจเป็นจังหวะที่ดีในการทยอยขาย


Fear and Greed Index จึงเป็นเครื่องมือยอดนิยมที่ใช้ในตลาด crypto เพื่อวัดความเชื่อมั่นของนักลงทุน โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ความผันผวน โมเมนตัมของตลาด ปริมาณการซื้อขาย และการพูดถึงในโซเชียลมีเดีย ด้วยการวัดดัชนีความกลัวและความโลภ จะทำให้นักลงทุนสามารถเข้าใจอารมณ์ตลาดโดยรวมได้ดีขึ้น และตัดสินใจได้อย่างมานยำมากขึ้นเกี่ยวกับการซื้อและขายสกุลเงินดิจิทัล ตัวอย่างเช่น หากดัชนีบ่งชี้ว่าตลาดมีความกลัวในระดับสูง อาจเป็นเวลาที่ดีที่จะซื้อเนื่องจากราคาอาจต่ำกว่ามูลค่าจริง ในทางกลับกัน หากดัชนีบ่งชี้ว่ามีความโลภในระดับสูง อาจเป็นเวลาที่ดีที่จะขายเนื่องจากราคาอาจสูงเกินไป


วิธีการซื้อขาย Crypto ในกรณีของ Fear and Greed Index

 Fear and Greed Index ไม่ใช่กลยุทธ์การซื้อขาย แต่เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ร่วมกับการวิเคราะห์และกลยุทธ์อื่น ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อขาย เพราะว่านักเทรดบางคนอาจใช้ดัชนีความกลัวและความโลภในช่วงที่ตัวเองเกิดความกลัวหรือความโลภอย่างสุดขีด แต่บางรายอาจใช้ดัชนีนี้เป็นปัจจัยหนึ่งในหลายๆ ปัจจัยของการตัดสินใจซื้อขาย จึงทำให้ดัชนีความกลัวและความโลภสามารถปกป้องเงินทุนจากการลงทุนได้


คราวนี้ทำให้เกิดคำถามว่าเราจะลงทุนเทรดคริปโตฯ ในกรณีของ Fear and Greed Index ยังไง?

โดยส่วนใหญ่นักเทรดจะนิยมลงทุนคริปโตฯ ด้วยวิธีการเทรด CFD ซึ่งเป็นสัญญาซื้อขายส่วนต่างทางการเงิน เป็นอีกหนึ่งทางเลือกช่วยให้นักเทรดสามารถเก็งกำไรได้ โดยไม่ต้องเป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้นจริง ๆ เราจะเห็นได้ว่าใคร ๆ ก็นิยมเลือกเทรด CFD เพราะนอกจากจะใช้เงินลงทุนน้อยแล้ว ยังสามารถทำกำไรได้ทั้งตลาดขาขึ้นและขาลงอีกด้วย


ข้อดีของการลงทุนใน crypto

  • เปิด 24 ชั่วโมง มีสภาพคล่องสูง ซื้อขายได้ตลอดเวลา ไม่มีวันหยุด 

  • มีความปลอดภัยและเป็นส่วนตัว เนื่องจากคริปโตฯ ทำงานอยู่บนเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain)

  • เข้าถึงได้ง่ายและมีขั้นต่ำการลงทุนที่น้อยมาก


ประโยชน์ของการซื้อขาย CFD

  • ใช้เงินลงทุนน้อย เนื่องจากระบบของ Margin และ leverage ทำให้สามารถขยายเงินการลงทุนโดยเราใช้หลักประกันเพื่อไม่ให้ขาดทุนเกินเงินประกันที่เรามีอยู่ในพอร์ท 

  • ให้ประโยชน์และความเสี่ยงทั้งหมดแก่นักลงทุนในการเป็นเจ้าของหลักทรัพย์โดยไม่ต้องเป็นเจ้าของจริง

  • เราสามารถลงทุนในตลาด CFD ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 


ซึ่งเราสามารถทำได้โดย

  1. เปิดบัญชีเทรดคริปโตฯ กับโบรกเกอร์ Mitrade

  2. ดาวน์โหลด Application หรือแพลตฟอร์มสำหรับเทรด คริปโตฯ จากโบรกเกอร์ที่เปิดบัญชี

  3. เลือกประเภทของเหรียญคริปโตฯ ที่ต้องการเทรด

  4. เก็งกำไรโดยคาดการณ์ว่าราคาของสินทรัพย์จะปรับขึ้นหรือลง


เทรด Crypto กับ Mitrade !! พิเศษ ลูกค้าใหม่! รับโบนัส $100 ดอลลาร์


ค่าคอมมิชชั่น 0 และสเปรดต่ำ เงินเสมือนจริงสำหรับการเทรดทดลอง $50,000

illustration

บนเว็บไซต์ Mitrade ไม่เพียงแต่ให้บริการเทรดเฉพาะแค่เหรียญคริปโตฯ เท่านั้น แต่ยังให้นักเทรดใช้บริการเลือกเทรดสกุลเงินอื่น ๆ ได้อีก อย่างเช่น เทรด Forex, ทองคำ, หุ้น, ดัชนี, น้ำมันดิบและตราสารอื่น ๆ ได้อย่างครบครันเลยทีเดียว

สรุป

Fear and Greed Index เป็นดัชนีที่ใช้ดูภาพรวมอารมณ์ของตลาดว่าเรากำลังมีความกลัวหรือความโลภในการลงทุน โดยคำนวณมากจากหลายปัจจัยส่วนรวม โดยข้อมูลที่ได้จากดัชนีสามารถให้เรานำมาปรับใช้ในการลงทุนได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่จมอยู่กับอารมณ์ของตนเอง อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงการเทรด หรือการซื้อขายสินทรัพย์ ดัชนีต่าง ๆ เราไม่ควรยึดติดกับตัวบ่งชี้เพียงตัวเดียวมาใช้ประกอบในการตัดสินใจ แต่เราควรมองหาตัวบ่งชี้ หรือค่าส่วนประกอบอื่น ๆ ร่วมด้วยนะคะ

คำถามที่พบบ่อย

1. ทำไมต้องวัดความกลัวและความโลภ

ตอบ พฤติกรรมของตลาดคริปโตนั้นผันผวนและเกี่ยวข้องกับอารมณ์เป็นอย่างมาก


2. Fear and Greed Index ดูจากไหน?

ตอบ สามารถดูได้บนเว็บไซต์ https://alternative.me/crypto/fear-and-greed-index/


3. Fear and Greed Index สามารถปกป้องการลงทุนได้หรือไม่?

ตอบ ต้องทราบว่า Fear and Greed Index ยังไม่ใช่ตัวบ่งชี้โดยตรงของการปกป้องเงินทุน ดัชนีสามารถช่วยให้นักลงทุนระบุช่วงเวลา หรือสภาวะที่เกิดความกลัวหรือโลภมากได้เท่านั้น แต่นักลงทุนสามารถใช้ตัวเลขดัชนีความกลัวกับความโลภไปใช้ทำกำไรได้

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์