EOS คือ? ทุกสิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับเหรียญ EOS

6 นาที
อัพเดทครั้งล่าสุด 17 ก.ค. 2566 07:56 น.
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

EOS เป็นหนึ่งในโปรเจกต์ที่มีศักยภาพในปัจจุบันนี้ หลายคนขนานนามให้กับ EOS ว่าจะเป็นเหรียญที่ออกมาเพื่อฆ่า Ethereum บทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่า EOS คืออะไร ทำงานอย่างไ แตกต่างจาก Ethereum ได้อย่างไ และเป็นเหรียญฆ่า Ethereum ได้อย่างไรกัน

EOS คือ?

EOS คือโปรเจกต์ที่ถูกสร้างขึ้นโดย Dan Larimer (ผู้ร่วมก่อตั้งทั้ง Bitshares และ Steemit) และ Brendan Blumer ซึ่งได้เปิดให้เข้ามาระดมทุน หรือ ICO ในวันที่ 26 มิถุนายน 2017 และระดมทุนเสร็จในวันที่ 1 มิถุนายน 2018 ซึ่งกินระยะเกือบ 1 ปี และได้รับเงินระดมทุนไปกว่า 1000 ล้าน USD ซึ่งถือว่าเป็นการระดมทุนที่นานที่สุด และได้ทำลายสถิติการระดมทุนทั้งหมดในขณะนั้น


EOS นั้นคือโปรเจกต์ Blockchain ที่ตั้งใจทำให้เป็นระบบปฎิบัติการแบบ Decentralized สำหรับ Decentralized Application (DApps) โดยตั้งใจที่จะทำให้สามารถทำรายการได้หลายล้านธุรกรรมต่อวินาที และไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆในการทำธุรกรรมต่างๆบนเชน EOS ซึ่งเป็นข้อแตกต่างจากโปรเจกต์ Blockchain อื่นๆ ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังเป็นเพียงแค่เป้าหมายสามารถทำได้เพียงไม่มีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม แต่การทำธุรกรรมได้หลายล้านต่อวินาทีนั้นยังไม่สำเร็จ


โดยสาเหตุที่ EOS จะสามารถทำธุรกรรมได้ถึงหลายล้านธุรกรรมต่อวินาทีเป็นเพราะ กลไก Delegated-Proof-of-stake (DPoS) ซึ่งต่างจากทาง Bitcoin หรือ Ethereum ที่ใช้ระบบ Proof-of-work (PoW) โดยในปัจจุบันหลายโปรเจกต์ Blockchain ใหม่ๆได้หันมาใช้ระบบ Proof-of-stake แทน เนื่องจากมีประสิทธิภาพ และไม่กินพลังงาน รวมทั้งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่เท่ากับการเปิดเครื่องขุด และสาเหตุที่ทาง EOS นั้นไม่จำเป็นต้องเสียค่าธรรมเนียมนั้นเป็นเพราะผู้ใช้จำเป็นต้องนำ EOS เพื่อไป Stake เป็น CPU Ram Net แทนระบบ Proof-of-Stake ทั่วไปที่เพียงแค่เอาเหรียญไป Stake และผู้ที่เข้ามาใช้ก็จำเป็นต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับผู้ที่ Stake เพื่อเป็นผู้ตรวจสอบ

EOS ทำงานอย่างไร

หลักการทำงานของ EOS จะใช้วิธีการลงมติว่าใครหรือกลุ่มใดที่จะได้รับการมอบหมายอย่างเป็นทางการ บล็อกใน EOS Blockchain สร้างขึ้นเป็นรอบที่ 21 ผู้ถือโทเคน EOS ทุกคนสามารถเลือก Producers 21 รายที่จะทำการตรวจสอบบล็อกในตอนเริ่มต้นของทุก ๆ รอบการคัดเลือก Producers บล็อกจะเสร็จสมบูรณ์ Producers จะมีการสับเปลี่ยนตามเวลาบล็อกและมีการสุ่มหมายเลขที่สร้างโดยเครือข่าย Producers


เวลาบล็อกในเครือข่าย EOS ทุก ๆ สามวินาทีบล็อกใหม่จะเข้าสู่ blockchain ทันที Producers จะต้องสามารถตรวจสอบความถูกต้องของแต่ละบล็อกได้อย่างถูกต้องและทันเวลา


หาก Producers ล้มเหลวในการตรวจสอบธุรกรรมจะถูกลบออกจากการเป็น Producers และมีเวลาเฉลี่ยเพื่อยืนยันบล็อกธุรกรรมบนเครือข่าย EOS ใช้เวลาเพียง 1.5 วินาที ดังนั้นจึงเป็นเครือข่าย Blockchain ที่มีความเร็วสูงมาก


สรุป EOS เป็นโครงการที่มีคุณสมบัติครบถ้วน แถมยังมาพร้อมกับความเร็วในการประมวลผล ก่อให้เกิดการผสมผสานอย่างสมบูรณ์แบบในการสร้าง Blockchain ที่จะพัฒนาไปในอนาคตเพื่อรองรับธุรกรรมที่มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก EOS กำลังแข่งขันกับ Ethereum ซึ่งการแข่งขันระหว่างคนทั้งสองนี้จะช่วยให้เทคโนโลยี Blockchain ทั้งหมดดีขึ้นและทุกคนสามารถเข้าถึงได้ อีกทั้งยังมี DApps จำนวนมากที่กำลังพัฒนาจึงมีโอกาสที่เราจะเห็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีมูลค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง


วิธีการขุด EOS

เหรียญ EOS จะไม่สามารถขุดได้โดยตรงเนื่องจากอุปทานรายปีเพิ่มขึ้น 5% และ 1% ของอุปทานดังกล่าวถูกส่งไปยังผู้ตรวจสอบบล็อกที่ได้รับมอบหมายในปีนั้น และไม่สามารถขุดเหรียญได้แบบเดียวกันกับการขุดเหรียญ Bitcoin และ Ethereum บล็อกเชน EOS จะทำงานด้วยการใช้อัลกอริทึมฉันทามติ delegated Proof-of-Stake (dPoS) เป็นต้น


1. สามารถขุดเหรียญ EOS ได้โดยการเชื่อมเข้ากับ Ethereum mining pool เพื่อขุดเหรียญ ETH การเข้าร่วม mining pool มีระดับความยากในการขุดค่อนข้างสูงสำหรับโปรโตคอล เมื่อได้รับเหรียญ ETH จากนั้นจึงจะสามารถนำไปแลกเพื่อได้เหรียญ EOS ในตลาดแลกเปลี่ยนเงินคริปโตแห่งใดแห่งหนึ่ง


2. การขุดเหรียญ EOS ในลักษณะแบบเสมือนจริงผ่านทาง Ethereum mining pool จะสามารถแลกเปลี่ยนเงินธนบัตร จากผู้ขุดที่มีบริการระบบคลาวด์ที่มุ่งเน้นที่การขุดเหรียญ ETH อยู่แล้ว เมื่อได้รับเหรียญ ETH จากนั้นจึงจะสามารถนำไปแลกเพื่อได้เหรียญ EOS ในตลาดแลกเปลี่ยนเงินคริปโตแห่งใดแห่งหนึ่ง

รูปภาพที่แสดง EOS


EOS แตกต่างจาก Ethereum ได้อย่างไร?

EOS แตกต่างจาก Ethereum ได้อย่างไร?

คุณสมบัติ

Ethereum

EOS

ปีที่เปิดตัว

2014

2018

ผู้สร้าง

Vitalik Buterin

Berndan Biumer และ Daniel Larimer

วัตุประสงค์

แพลตฟอร์ม

แพลตฟอร์ม

Trading Volume

฿338,463,329,074 THB

฿8,010,151,659 THB

ทิกเกอร์

ผลประโยชน์ทับซ้อน

EOS

สัญญาอัจฉริยะ

ใช่

ใช่

ธุรกรรมต่อวินาที

30/วินาที

3,000/วินาที

อัตราผลการผลิตบล็อก

10-15 วินาที

0.5 วินาที

อัลกอริทึมฉันทามติ

Pow

Pos ที่ได้รับมอบหมาย

ค่าธรรมเนียมคนขุดแร่

ค่าน้ำมัน

Stake Model ที่ป้องกันค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม






ลักษณะ

เทคโนโลยี Smart Contracts ในการกำหนดข้อตกลงและเงื่อนไขต่าง ๆ


สามารถสร้างแอพพลิเคชัน ขึ้นมาบนเครือข่าย Ethereum อีกชั้นหนึ่ง


แอพพลิเคชันจะเป็นแบบ decentralized app (DApp)

สร้างแอพพลิเคชันแบบกระจาย โดยใช้ Smart Contracts คล้าย ๆ 

Ethereum


สามารถทำธุรกรรมได้มากกว่า 1 แสนธุรกรรม / วินาที  เมื่อเทียบกับ ETH ทำได้แค่ 13 ธุรกรรม/วินาที


ไม่มีค่า Gas หรือค่าธรรมเนียมเหมือน ETH สามารถใช่ภาษา Solidity, Cและ C++ ในการสร้างแอพบนแพลตฟอร์ม EOS


เหรียญ EOS จะเป็นเหรียญฆ่า Ethereum ได้อย่างไร

เนื่องจาก EOS และ Ethereum นั้นมีความตั้งใจที่จะสร้างขึ้นนั้นมีความคล้ายคลึงกัน คือเป็น Blockchain Network สำหรับ DApps ทั่วโลก แต่สาเหตุที่หลายคนขนานนามให้กับ EOS ว่าจะเป็นเหรียญที่ออกมาเพื่อฆ่า Ethereum เพราะ EOS นั้นมีคุณสมบัติทั้งหมดที่ Ethereum มี และเหนือกว่าในด้านของความเร็วการประมวลผล แถมยังสามารถประมวลผลธุรกรรมได้เร็วกว่า Ethereum ถึง 2 เท่าเป็นอย่างต่ำ


ภาพอ้างอิงจากเว็ปไซต์: https://www.bitdegree.org/crypto/what-is-eos

จะเห็นว่าในการยืนยัน 1 ครั้งของ ETH นั้นใช้เวลาไป 5 ถึง 40 วินาที และสามารถประมวลผลได้เพียง 15-17 ธุรกรรมต่อวินาที ในขณะที่ EOS ใช้เพียง 1.5 วินาที ไม่เพียงแค่นั้น Ethereum ยังต้องจ่ายค่าการประมวลผลสูงต่างกับ EOS ที่ไม่จำเป็นต้องเสียค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม


นอกจากนี้ ด้วยกลไก DPoS เครือข่าย EOS ยังมีความสามารถที่จะหยุดธุรกรรมในเครือข่ายได้อีกด้วย มันอาจจะดู Centralized แต่ความจริงคือ มันมีไว้เพื่อป้องกันเหตุการณ์โดนแฮ็ก เช่น เมื่อปี 2016 มี DAO ถูกแฮ็ก Ethereum เป็นมูลค่ากว่า 50 ล้านดอลลาร์ ทำให้มันต้องทำการ Hardfork เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวเลยทีเดียว ซึ่ง EOS จะสามารถป้องกันเหตุการณ์นั้นได้

สถาบันการเงินที่ใช้ EOS

Galaxy Digital Assets - สินทรัพย์ดิจิทัลของ Galaxy เป็นกองทุนรวมที่เน้นด้านเทคโนโลยีบล็อกเชนและมีกองทุนเฉพาะ EOS เป็นหลัก โดยวัตถุประสงค์ของกองทุนคือการช่วยสนับสนุนและพัฒนาเครือข่าย EOS ในขณะเดียวกันก็มีการลงทุนในทีมและธุรกิจที่ต้องการนำซอฟต์แวร์บล็อกเชน EOS มาใช้


Fin Lab - Fin Lab เป็นบริษัทสัญชาติเยอรมันที่ใช้เทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญ เพื่อช่วยสร้างและพัฒนาบริษัทอื่นๆ พวกเขาเชี่ยวชาญในการสนับสนุนสตาร์ทอัพ FinTech และบล็อกเชน EOS เป็นหนึ่งในหลายๆ วิธีในการกำจัดกระแสข้อมูลและปรับปรุงกระบวนการของบริษัท


สรุปแล้ว EOS นั้นเป็นโครงการที่มีคุณสมบัติทั้งหมดที่เหมือนกับ Ethereum มีแถมยังมาพร้อมกับความเร็วในการประมวลผล ด้วยสองอย่างที่กล่าวมาก่อให้เกิดการผสมผสานกันจนทำให้ EOS Blockchain นั้นพัฒนาไปเพื่อรองรับกับอนาคตที่จะมีธุรกรรมมากมายเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และเนื่องจาก EOS และ อีกหลายๆ Blockchain กำลังพยายามแข่งขันกับ Ethereum ซึ่งทำให้เทคโนโลยี Blockchain ทั้งหมดเข้าถึงผู้คนได้ง่ายยิ่งขึ้น และยังดียิ่งขึ้นไปอีกด้วย อีกทั้งจากการพัฒนาเหล่านี้ทำให้มี DApps จำนวนมากมายที่เร่งพัฒนา และพร้อมจะเติบโตเข้ามาสู่โลก Blockchain มากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม


พิเศษ ลูกค้าใหม่! รับโบนัส $100 ดอลลาร์ ค่าคอมมิชชั่น 0 และสเปรดต่ำ ฝึกฝนเทรดด้วยเงินเสมือนจริง $50,000 ฟรี
illustration
คำถามที่พบบ่อย
1. DApps คืออะไร?
​ ตอบ DApps ย่อมาจาก Decentralized Application ซึ่งก็คือแอพพลิเคชั่นที่ไม่มีตัวกลาง สร้างอยู่บนเครือข่ายบล็อกเชน
2. อะไรดีกว่ากันระหว่าง Ethereum หรือ EOS
ตอบ ETH กับ EOS ทั้งสองมีความคล้ายคลึงกัน แต่ EOS จะมีศักยภาพที่แฝงอยู่มาก สามารถประมวลผลธุรกรรมได้ในปริมาณที่มากกว่า Ethereum ดังนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเงินของนักลงทุนและสิ่งที่นักลงทุนต้องการพัฒนาในแง่ของ dApps เป็นหลัก
3. EOS มีค่าธรรมเนียมหรือไม่?
ตอบ การทำธุรกรรม EOS นั้นไม่มีค่าธรรมเนียมในเครือข่าย
4.ทำไม EOS ถึงอยากทำธุรกรรมให้ถึง 1 ล้านครั้งต่อวินาที
สาเหตุที่ EOS ต้องการจะทำสิ่งนี้เนื่องจากเมื่อมีจำนวน DApps ที่มากมาย และมีคนสร้าง DApps ที่คล้ายๆกับ Facebook บน EOS ได้ และภายในนั้นมีผู้ใช้งานมากมายจนทำให้มีทั้งคอมเม้น และไลค์ เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็น แสน รายการต่อวินาที ซึ่ง Blockchain ทั่วไปไม่มีความสามารถที่จะประมวลผลได้ทันอย่างแน่นอน เนื่องจาก 1 ไลค์ก็เปรียบเสมือนกับ 1 ธุรกรรม และถ้าหากมี DApps คล้ายๆกันหลากหลายมากขึ้นไปก็ยิ่งจำเป็นที่จะต้องการให้ทำได้มากกว่า 1 ล้านครั้งต่อวินาที

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์