Compound คืออะไร อนาคต Comp Coin เป็นยังไง ยังคงน่าลงทุนไหมในปี 2023?

0 นาที
อัพเดทครั้งล่าสุด 08 พ.ค. 2566 10:19 น.
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos
สารบัญ
เหรียญ Compound คืออะไร?Compound Protocol สร้างขึ้นมาเพื่ออะไรCompound ทำงานอย่างไรใครคือผู้สร้าง Compound ProtocolCompound Coin ใช้ทำอะไรได้บ้างจุดเด่นที่ทำให้ Compound Protocol แตกต่างจากเหรียญอื่นๆเหรียญ Comp มีระบบการทำงานน่าเชื่อถือหรือไม่?อนาคตของ Compound Finance เป็นอย่างไร เป็นกระแสยังดีอยู่หรือไม่ข้อควรระวังเกี่ยวกับลงทุนใน Comp Coin

เหรียญ Compound เป็นสกุลเงินดิจิทัลประเภทหนึ่งที่อยู่ในกลุ่ม Decentralize Finance อุตสาหกรรมตลาดเงินดิจิทัลที่มีการเติบโตแบบก้าวกระโดดในปีที่ผ่านมา สำหรับ Compound Defi นั้นก็เคยมีกระแสดราม่าเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มนี้ลดลงเป็นอย่างมาก แต่ถ้าลองย้อนมองภาพรวมในอดีต Comp Coin ก็เป็นอีกเหรียญที่มีพื้นฐานค่อนดีและน่าสนใจเป็นอย่างมาก ดังนั้นทางผู้เขียนจึงอยากนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหรียญ Comp ขึ้นมาพร้อมอัปเดตสถานการ์ณปัจจุบันเกี่ยวกับเหรียญนี้ว่ายังน่าทุนอยู่ไหม ติดตามได้ที่บทความนี้เลย

เหรียญ Compound คืออะไร?

Compound มีคุณสมบัติเป็น Governance Token เหมือนกันกับเหรียญอื่นๆ ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนที่ถือครองเหรียญ Compound สามารถแสดงความคิดเห็นหรือคัดค้านเกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาเหรียญเป็นต้น แต่สำหรับ Compound Platform ที่ถูกสร้างขึ้นมาในเครือข่ายบนบล็อกเชนของ Ethereum ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มให้ผู้ใช้งานทุกคนสามารถทำการปล่อยกู้และทำการกู้ยืมสินทรัพย์ดิจิทัลได้โดยทำงานอัติโมนัติแบบไม่ผ่านตัวกลาง ซึ่งถือว่าเป็น Liquidity Pool ชนิดหนึ่งที่มีกระบวนการทำงานที่โดดเด่นในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมาจากอัลกอริทึม โดยผู้ใช้งานที่ทำธุรกรรมทุกรูปแบบจะได้รับดอกเบี้ยแบบลอยตัวบน Smart Contract แบบอัตโนมัติ

Compound Protocol สร้างขึ้นมาเพื่ออะไร

Compound Protocol ถูกสร้างขึ้นมาเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ใช้งานมากกว่าระบบธนาคาร เนื่องจากว่าเป็นแพลตนี้ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนที่ถือครองสกุลเงินดิจิทัล โดยเฉพาะกลุ่มมาตรฐาน ERC-20 ที่มีความประสงค์อยากจะทำการปล่อยกู้เพื่อรับผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย และผู้ที่มีความประสงค์อยากจะทำการกู้ยืมเพื่อนำไปบริหารหรือลงทุนในรูปแบบอื่นๆ ซี่งการทำธุรกรรมดังกล่าวสามารถทำได้ด้วยตัวเองแบบไม่ต้องผ่านคนกลางหรือผ่านผู้ควบคุมอย่างเช่นระบบธนาคารนั่นเอง

Compound ทำงานอย่างไร

Compound เป็นโปรโตคอลการเงินดิจิทัลที่ใช้สัญญาอัจฉริยะบนเครือข่าย Ethereum เพื่อให้ผู้ใช้สามารถกู้ยืมและให้เงินกู้ได้ โดยส่วนสำคัญของการทำงานของ Compound ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลักดังนี้


สัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract)

Compound ใช้สัญญาอัจฉริยะบนเครือข่าย Ethereum เป็นฐานของการทำงาน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถกู้ยืมเงินและให้เงินกู้ได้อย่างปลอดภัยและเชื่อถือได้ สัญญาอัจฉริยะนี้เป็นรหัสคอมพิวเตอร์ที่โปรแกรมเมอร์ได้เขียนไว้เพื่อรันบนบล็อกเชน Ethereum และมีความปลอดภัยมากเนื่องจากสามารถตรวจสอบได้ว่ามีการดำเนินการตามกฎหมายและเงินกู้แต่ละรายการไม่สามารถเข้าถึงเงินกู้รวมกันได้


การให้บริการกู้ยืม

ผู้ใช้ Compound สามารถกู้ยืมสินทรัพย์ดิจิทัลได้โดยการมีการจำนวนเงินสำรองเงินดิจิทัลเป็นประกันในการคืนเงินกู้ ผู้กู้สามารถกู้ยืมได้ตามอัตราดอกเบี้ยที่ตั้งโดยตลาด ซึ่งอัตราดอกเบี้ยจะขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันของสินทรัพย์ดิจิทัล และความน่าเชื่อถือของผู้กู้


การให้บริการให้เงินกู้

ผู้ถือสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถใช้สินทรัพย์ดิจิทัลของตนเองเพื่อให้เงินกู้ให้กับผู้อื่น โดยเงินกู้ที่ให้จะได้รับดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยที่ตั้งโดยตลาด และผู้ให้เงินกู้จะได้รับเงินดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทน


ใครคือผู้สร้าง Compound Protocol

Compound เกิดจาก Robert Leshner อดีตนักเศรษฐศาตร์ และ  Geoffrey Hayes ร่วมกันสร้างขึ้นมาในฐานะ CEO สำหรับ Compound Protocol ถูกสร้างขึ้นมาในช่วงปี 2017 ที่ผ่านมา โดยผู้สร้างทั้งสองคนนี้มีเป้าหมายที่อยากจะพัฒนาระบบการเงินแบบเดิมที่มีข้อบกพร่องหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความรวดเร็วในการทำธุรกรรม, ประสิทธิภาพในการทำงานของระบบการเงินในรูปแบบต่างๆ และปัญหาสำคัญในเรื่องการทำธุรกรรมก็คือถูกจำกัดด้วยระบบแบบรวมศูนย์ จึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ทั้งสองคนนี้ได้ร่วมกันสร้างบริษัทซอฟต์แวร์ชื่อว่า Compound Labs ซึ่งเป็นผู้อยู่เบื้องหลังนวัตกรรมของระบบ Compound Protocol ที่เรากำลังพูดถึงอยู่ในบทความนี้นั่นเอง  

Compound Coin ใช้ทำอะไรได้บ้าง

 ●  Compound Coin สามารใช้ในการโหวตเสนอความคิดเห็นหรือคัดค้านเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาโปรเจกต์เกี่ยวกับ Compound Platform โดยตรง เพียงแค่ผู้ใช้งานมีเหรียญ Comp ใน Wallet ก็จะสามารถโหวตได้โดยมีน้ำหนักตามอัตราส่วนของ Comp ที่ตัวเองถือนั่นเอง


 ●  Compound Coin สามารถใช้ในการเขียน Proposal (คำร้องเรียน) เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบได้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเพิ่มเหรียญลงในตลาด, แก้ไขอัตราดอกเบี้ย, ถอน Reserve หรือต้องการเลือกแอดมินใหม่ เป็นต้น

จุดเด่นที่ทำให้ Compound Protocol แตกต่างจากเหรียญอื่นๆ

แม้ว่าเหรียญ Compound จะมีลักษณะคล้ายกับกันกับเหรียญอื่นๆ ที่มีลักษณะเป็นแพลตฟอร์ม Defi แต่เหรียญ Comp ก็มีจุดเด่นเฉพาะทางที่ทำให้เหรียญนี้ต่างจากกเหรียญอื่นๆ นั่นก็คือ โทเค็นของสินทรัพย์จะถูกล็อคไว้อยู่ในระบบของพวกเขาผ่านการใช้ cTokens ที่มีมาตรฐาน ERC20 เหมือนกับเหรียญทั่วไป ซึ่งการใช้งานด้วย cTokens จะเพิ่มความสะดวกสบายในการทำธุรกรรมทุกรูปแบบ เพราะ cTokens แสดงถึงฟีเจอร์พื้นฐานในการเคลื่อนไหวของ DeFi ซึ่งเป็นความสามารถในการรวมโปรโตคอลที่แตกต่างกันไว้ในเอกสารสำเร็จรูปรือที่เรียกว่าเงินเลโก้ ซึ่งProtocol อื่นๆ ไม่ได้มีรูปแบบการทำงานตรงนี้เหมือนกับ Compound Protocol นั่นเอง

เหรียญ Comp มีระบบการทำงานน่าเชื่อถือหรือไม่?

สิ่งหนึ่งที่จะสามารถการันตีว่า เหรียญ Comp มีระบบการทำงานน่าเชื่อถือหรือไม่นั้น ก็คือระบบ Compound Protocol จะมีการจัดลำดับความเสี่ยงของ Cryptocurrency ที่ผู้ใช้งานนำมาใช้เป็นหลักประกัน ซึ่งเรียกว่า Collateral Factor โดยระบบนี้จะทำการตั้ง Collateral Factor ของ ETH อยู่ที่ 75 % และ BAT ที่ 60 % หมายความว่า ระบบจะให้น้ำหนักกับ ETH ที่เป็น High-Cap Asset มากกว่า BAT ที่เป็น Small-Cap Asset ส่งผลให้สามารถกู้เหรียญ ETH ได้ในปริมาณที่มากกว่า แต่ก็จะไม่สามารถกู้เกินตามปริมาณที่ Collateral Factor กำหนดไว้ ซึ่งความน่าสนใจในระบบนี้ถือว่ามีการพัฒนาขึ้นมาเพื่อป้องความเสี่ยงให้นักลงทุนทุกคนนั่นเอง

อนาคตของ Compound Finance เป็นอย่างไร เป็นกระแสยังดีอยู่หรือไม่

การใช้งานของ Compound Finance ยังคงมีความนิยมอยู่ในปัจจุบันเนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่ให้ผู้ใช้สามารถเก็บรายได้จากดอกเบี้ยแบบเปลี่ยนแปลงได้ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเพิ่มเติมให้กับโปรโตคอลนี้อยู่เรื่อยๆ เช่นการเพิ่มเติมเหรียญที่รองรับการกู้ยืม และการปรับปรุงประสิทธิภาพของเครือข่าย เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น


ดังนั้น สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ Compound Finance ยังคงเป็นโปรโตคอลการเงินดิจิทัลที่มีความนิยมและมีโอกาสในการเติบโตต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตลาดการเงินดิจิทัลเติบโตอย่างรวดเร็วในปัจจุบันนี้ อย่างไรก็ตาม ควรทราบว่าการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นการลงทุนที่เสี่ยง และผู้ลงทุนควรทำการวิเคราะห์และตรวจสอบข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุนในโปรเจ็ก


Update ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับ Comp Coin 

เช็คสถานการ์ณตลาดในปัจจุบันนี้เกี่ยวกับราคาของเหรียญพร้อมและมูลค่าการซื้อขาย ทางผู้เขียนได้อ้างอิงจาก Coinmarketcap.com (อิงราคา ณ วันที่ 26/4/2023)


ราคาของเหรียญ Comp


 ●  ปัจจุบันราคาของเหรียญ Comp อยู่ที่ $41.32 USD

 ●  มีมูลค่าการซื้อขายอยู่ลำดับที่ 118 ของตลาด

 ●  มูลค่าตลาดอยู่ที่ $307,217,839 USD

 ●  อุปทานหมุนเวียน 7,447,026 เหรียญ Comp

 ●  อุปทานสูงสุดอยู่ที่ 10,000,000 เหรียญ Comp

ข้อควรระวังเกี่ยวกับลงทุนใน Comp Coin

1)    ระวังในเรื่องของความเสี่ยงเกี่ยวกับการ Liquidation คือการชำระบัญชี หรือคือการโดนล้างพอร์ตนั่นเอง ในกรณีที่ผู้ใช้งานไม่มีวินัยในการชำระหนี้ตามที่กำหนด ระบบจะทำการ Liquidation โดยอัตโนมัติทันที


2)    อัตราของผลตอบแทนของการ Stake Cryptocurrency มีการเปลี่ยนแปลงผันผวนอยู่ตลอดเวลา บางครั้งอัตราดอกเบี้ยอาจจะติดลบตามสภาวะตลาด ณ ช่วงเวลานั้นๆ ผู้ลงทุนจำเป็นที่จะต้องประเมิณความเสี่ยงตนสามารถรับได้ก่อนที่จะทำการลงทุน


3)    แพลตฟอร์ม Decentralize Finance ยังถือว่าเป็นแพลตฟอร์มที่ใหม่ เพิ่งพึ่งเริ่มสร้างเมื่อไม่นานมานี้ ในเรื่องของความปลอดภัยในเรื่องของการใช้งานอาจจะดูแลไม่ได้ดีเท่าที่ควรสักเท่าไหร่ ยังคงต้องระวังความเสี่ยงเกี่ยวข้อบกพร่องของ Smart Contract ที่ติดปัญหา Bug ทำให้เกิดการคลาดเคลื่อนของการส่งข้อมูล (Information Flow) ผิดพลาด จึงเป็นเหตุให้ผู้ให้บริการเกิดความเสียหายเหมือนที่ผ่านมานั่นเอง


4)    ข้อนี้สำคัญมากๆ เพราะวงการ Defi มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และสามารถจ่ายอัตราผลตอบแทนที่ราคาที่สูง ทำให้หลายคนเทเงินบนหน้าตักไปลงทุนแบบขาดความระมัดระวัง ซึ่งอาจจะเป็นอีกหนึ่งแรงจูงใจที่ทำให้ทางผู้พัฒนาระบบบางแพลตฟอร์มสามารถโกงได้ตามที่เราเคยได้ข่าวไปก่อนหน้า


*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง